การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อราColletotrichum gloeosporioides จากพืชท้องถิ่นของอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐนันท์ นั้นหม่อง, กรวรรณ ใสมาศ, จิรปรียา สุภาคำ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อินทราภรณ์ เพ็ญจิตต์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปายวิทยาคาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papaya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8อีกทั่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ใช้ทั้งผลดิบและผลสุกบริโภค ได้รับความนิยมบริโภคทั่วไปทุกภูมิภาค โดยมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่การปลูกกลับ ลดลงทุกปี มะละกอเป็นพืชที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยเฉพาะผลดิบเป็นที่ต้องการของ ผู้บริโภคเพื่อทำส้มตำ นอกจากนี้ผลสุกยังใช้บริโภคสดและมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมแปรรูปซึ่ง ปัจจุบันการปลูกมะละกอประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส

โรคแอนแทรคโนสเกิดจากเชื้อราColletotrichum gloeosporioides เชื้อรา Colletotrichum ลักษณะทั่วไปของเชื้อรา Colletotrichum คือจะมีโคโลนีสีขาวจนถึงสีเทาดำ สามารถ สร้างเส้นใยได้ดี มีการแตกกิ่งก้านและเส้นใยมีผนังกั้น สีของเส้นใยแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ไม่มีสีถึงสีน้ำตาลเข้ม สปอร์ใส ไม่มีสี รูปทรงกระบอกหัวท้ายมน ไม่มีผนังกั้น ลักษณะตรง หรือโค้งงอ มีรูปร่างหลายแบบ appressoria มีสีน้ำตาล ผิวเรียบหรือขรุขระ อาจเกิดเดี่ยวๆ หรือ สร้างหลายอันต่อกัน สปอร์จะงอก germ tube ภายใน 6-8 ชั่วโมง และสร้าง appressorium สีน้ำตาลเข้มภายใน 10-12 ชั่วโมง หลังจากนั้น appressorium จะสร้าง infection peg แทงเข้าไป ในชั้นเนื้อเยื่อพืชเมื่อเวลาผ่านไป 48 ชั่วโมง infection peg บางอันงอก primary hypha สั้นๆ และ จะหยุดแฝงตัวในระยะนี้ โดยไม่มีการเจริญต่อ หอมแดงเป็นพืชสมุนไพรในตระกูลAlliumที่มีสารประกอบที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบหลกั เช่นdiallyl disulfide, diallyl trisulfide, diallyl tetrasulfide, allicin และ alliin มีฤทธ์ิต้านแบคทีเรีย เช่น S. aureus และSalmonella enteritidis และรา เช่น Aspergillus niger, Fusarium oxysporum และ Penicillium cyclopium (Benkeblia และ Lanzotti, 2007) ในกระเทียมจะมีสาร Allicin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า Allicin สามารถยับยั้งการ เจริญของจุลินทร์ต่าง ๆ ได้แก่ มีฤทธิ์ในการต้านการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coli ยับยั้งไวรัส Haemophilus influenzae สามารถต้านเชื้อราก่อโรคทั้งในมนุษย์และเชื้อราก่อโรคในพืช นอกจากนี้ Allicin ยังมีผลต่อการเสริมภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย ซึ่งสารสกัดจากกระเทียมเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ของการสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้มากมาย มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย รวมทั้งมีรายงานถึงประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคได้หลายชนิด เช่น Aspergillus sp., As. terreus, Alternaria brassicicola, Curvularia lunata, Pyricularia arisea, Penicillium sp., Rhizoctonia solani และ Rhizopus stolonifera, (Thobunluepop et al., 2009; วริศรา และคณะ, 2553; ศานิต, 2555) หัวหอมสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) เช่น สาร เคอร์ซิติน (quercetin) จากพืชนั้น สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้[2] ดังนั้นการสกัดสารจากธรรมชาติเพื่อใช้ในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียจึงเป็นที่สนใจในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ นี้แทนการใช้สารเคมีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน หัวหอมเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งต่อสังคมไทยมาช้านาน เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาและมีสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญ ของจุลินทรีย์ โดยหัวหอมมีสารเคอร์ซิตินปริมาณสูงสุดซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ต่างๆ [3] และจากการสำรวจการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษโดยจุลินทรีย์ก่อ โรคพบว่าเชื้อ Salmonella spp., Escherichia coli O157:H7และ Staphylococcus aureus เป็นจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคอาหารเป็นพิษ

คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และจากการศึกษาค้นคว้าพบกระเทียม หอมแดง ใบมะกรูดและหอมใหญ่มีส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อรา และเนื่องจากกระเทียม หอมแดง ใบมะกรูดและหอมใหญ่เป็นพืชที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นเพราะกระเทียม หอมแดงและหอมใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอปาย ส่วนใบมะกรูดเป็นพืชตามครัวเรือนดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อราของกระเทียม หอมแดง ใบมะกรูดและหอมใหญ่เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราว่าสารสกัดจากกระเทียม หอมแดง ใบมะกรูดและหอมใหญ่สิ่งไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันอีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการเกษตรและลดสารเคมีตกค้างในพืชผลทางการเกษตร