นิเวศวิทยาของจิ้งโกร่ง (Brachytrupes portentosus Licht) เพื่อการประยุกต์สู่ฟาร์มเลี้ยง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฎฐพล พันธเสน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุมพล ชารีแสน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จิ้งโกร่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus Licht มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เช่น ภาคกลางเรียก จิ้งโกร่ง จิโปม จิ้งหรีดโก่ง จึ้งหรีดหัวโต ภาคอีสานเรียก จิโปม กิหล่อ (ลักขณาและคณะ, 2542) ภาคเหนือเรียก จิกุ่ง จิ้งโกร่ง เป็นแมลงในอันดับ และวงศ์เดียวกันกับตั๊กแตน หรือ จิ้งหรีด (Order Orthoptera Family Gyllidae) มีรูปร่างอ้วน มีหนวดยาวแบบเส้นด้าย (filiform) หัวมีลักษณะกลมและใหญ่ ปากเป็นแบบกัดกิน (chewing type) ลำตัวมีสีน้ำตาล อมเหลือง อวัยวะวางไข่ของจิ้งโกร่งตัวเมียสั้นกว่าจิ้งหรีดชนิดอื่น ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ขอบของปีกคู่หน้าสีกันไปมา อวัยวะทำเสียงดังกล่าวมีลักษณะคล้ายตะไบเรียกว่า file อยู่ที่ขอบด้านในของปีกคู่หน้า และมักใช้ file ถูเข้ากับเส้นขอบแข็ง (scraper) ของปีกด้านซ้าย ทำให้เกิดเสียง ส่วนขาคู่หน้าบริเวณ tibia จะมีอวัยวะคอยรับฟังเสียงพบได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวเต็มวัยมีขนาด 3.7 - 4.4 เซนติเมตร (ลักขณาและคณะ, 2542) เป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน ทำรังโดยการขุดรูลงไปอยู่ในดิน เช่น ตามคันนา ทุ่งหญ้า หรือแม้กระทั่งบริเวณบ้านเรือน รูที่พบจะยาว ประมาณ 30- 60 เซนติเมตร (กอบศักดิ์, 2545) จากข้อมูลคณะผู้จัดทำพบว่า เป็นแมลงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนสูงถึง 12.8 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม (กัณฑ์วีร์, 2542; พงศ์ธร และประภาศรี, 2526) มีรสชาติดีและเป็นที่ต้องการของตลาด ราคาขายตัวสดอยู่ที่ประมาณตัวละ 0.5 - 1.5 บาท จิ้งโกร่งทอด หรือคั่ว มีราคา 1.5 - 2 บาท แต่สภาพปัญหาที่สำรวจพบ จิ้งโกร่งเป็นสัตว์ที่มีช่วงอายุประมาณ 333 วัน จึงทำให้ในหนึ่งปีพบจิ้งโกร่งค่อยข้างยาก และจากข้อมูลพบว่า ยังไม่มีการจัดตั้งฟาร์มเพื่อเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจ คณะผู้จัดทำจึงเกิดแนวคิดว่า หากต้องการเลี้ยงจิ้งโกร่งเพื่อขาย จะสามารถเพื่อรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ จึงสนใจศึกษา นิเวศวิทยาของจิ้งโกร่ง (Brachytrupes portentosus Licht) เพื่อการประยุกต์สู่ฟาร์มเลี้ยง