การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของถ่านกัมมันต์ในการผลิตกระดาษซับเอทิลีนเพื่อชะลอการสุกของมะม่วง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ประภานิช สุวรรณศรี, ภัทรวรรณ งามมาก
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มุกดา หอมมาลี, ภานุพงศ์ ปราบหนองบัว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องนี้ ได้มีการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของถ่านกัมมันต์ในการผลิตกระดาษซับเอทิลีนสำหรับชะลอความสุกของมะม่วงพันธุ์แก้วขมิ้น โดยถ่านกัมมันต์นั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอทิลีนที่มีอยู่ในมะม่วงได้ และใช้กระดาษสำหรับการทำกระดาษถ่านกัมมันต์ชะลอความสุก เพื่อเป็นการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการทดสอบถ่านกัมมันต์ที่ได้มาโดยวิธีการวัดค่าการดูดซับไอโอดีน ผลปรากฏว่าค่าที่ได้นั้นเท่ากับ 684.41 mg/g เป็นไปตามค่าการทดสอบมาตรฐานของ ASTM-D4607-94 (ASTM Committee on Standards, 1998a) และมีการศึกษาอัตราส่วนของถ่านกัมมันต์ที่เหมาะสมในการทำกระดาษชะลอความสุก โดยนำกระดาษไปแช่น้ำก่อนจะนำไปฉีกปละปั่นขึ้นรูปกระดาษโดยเติมผงถ่านกัมมันต์ที่ระดับความเข้มข้น 20, 30, 40 และ 50 % ต่อน้ำหนักเยื่อแห้งของกระดาษกระดาษ 46.97g จากการขึ้นรูปผลว่ากระดาษนั้นมีมวล 8.7g 8.8g 8.95g และ 9.09g ตามลำดับ มีความหนาของกระดาษ 0.211mm 0.215mm 0.221mm และ 0.224mm ตามลำดับ โดยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีได้แก่ ค่าการสูญเสียน้ำหนัก การเปลี่ยนแปลงของสีเปลือก และการวัดค่าปริมาณกรดที่ไทเทรตผลการทดลองพบว่า กระดาษถ่านกัมมันต์ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 40 สามารถชะลอความสุกของมะม่วงพันธุ์แก้วขมิ้นได้นานที่สุด โดยชะลอความสุกได้ 9 วันที่อุณหภูมิ 30±2 องศาเซลเซียส โดยลักษณะทางกายภาพ การเปลี่ยนแปลงค่าการสูญเสียน้ำหนัก และการเปลี่ยนแปลงของสีเปลือกเก็บรักษาได้มีคุณภาพดีที่สุด