การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกต้นตีนเป็ด ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus .aureus กลายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรพล มณีนิล, พิชญุตม์ ปัญญา, ภูริช อิสริยศไกร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นวรัตน์ โสตศิริ, เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แบคทีเรียชนิดสตาฟีโลค็อกคัส เอพิเดอร์มิดิส (Staphylococcus epidermidis ) ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บนผิวหนังของมนุษย์ทุกคนโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในวงกว้าง จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่าเชื้อชนิดดังกล่าวที่มียีนกลายพันธุ์ ซึ่งจะทำให้คนเราเกิดการติดเชื้อหลังผ่าตัดและมีอาการดื้อยาปฏิชีวนะอย่างรุนแรงได้เกิดจากการรุกรานทำลายผิวของลำไส้โดยแบคทีเรีย (Invasive) อาการของโรคเกิดจากการทำลายผนังของลำไส้ ทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้สูง อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีกลิ่นเหม็น คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยบาธใน สหราชอาณาจักร รายงานผลการศึกษาข้างต้นลงในวารสาร Nature Communications โดยระบุว่าเชื้อสตาฟีโลค็อกคัส เอพิเดอร์มิดิส ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ใกล้ชิดกับเชื้อกลุ่ม MRSA ที่ทนทานต่อยาปฏิชีวนะอย่างร้ายแรงนั้น เริ่มมีบางส่วนที่วิวัฒนาการจนเกิดหน่วยพันธุกรรมหรือยีนชนิดใหม่ถึง ๖๑ ตัวที่ไม่พบในเชื้อสายพันธุ์ปกติ ยีนที่พบใหม่เหล่านี้สามารถจะทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตในคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ซ่อมแซมกระดูกสะโพกและกระดูกที่แตกหักส่วนต่าง ๆ รวมทั้งการผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมอย่างลิ้นหัวใจเทียม เนื่องจากยีนตัวใหม่จะช่วยให้เชื้อหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้ดีขึ้น และสร้างฟิล์มห่อหุ้มเซลล์ที่ต้านทานยาปฏิชีวนะได้ ด้วยที่มาและความสำคัญของปัญหาโรคลำไส้อักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ จากสรรพคุณในการรักษาอาการอักเสบของลำไส้หรือแผลดังกล่าวได้มีการอ้างอิงตามงานวิจัย คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงงาน . “การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกต้นตีนเป็ด ในการยับยั้งแบคทีเรียกลายพันธุ์ Staphylococcus epidermidis ที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ”