การศึกษาประสิทธิภาพของชั้นโอโซนที่ถูกทำลายจากก๊าซต่างๆ โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐวดี แก้ววงศา, สิริณัฏฐา ชนานุวัฒน์, วริศรา พลเสนา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทองพูน แพงมา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ชั้นโอโซนเป็นเกราะป้องกันโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ โอโซนส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ ที่ระดับความสูง 10-40 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน ในปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายลงมาก โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสารเคมี คลอโรฟลูออโรคาร์บอน จึงทำให้เกิดช่องโหว่ และช่องโหว่ในชั้นโอโซนอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการละลายของน้ำแข็ง ระบบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนังและต้อกระจกในมนุษย์ ดังนั้น โครงงานนี้ผู้จัดทำจึงมุ่งที่จะศึกษาช่องโหว่ในชั้นโอโซนโดยใช้รังสีอัลตราไวโอเลตยิงส่งขึ้นไปตกกระทบกับชั้นโอโซน แล้วจึงทำการคำนวณหาค่ารังสี ที่ยิงส่งขึ้นไปโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเป็นสื่อกลางในการคำนวณ