การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมเพศเมียจากส่วนประกอบของต้น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธัญญาดา นามวิชัย, นฤเบศวร์ อมรโรจน์วรวุฒิ, ก้องภพ โพธิสาร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์, เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมเพศเมียจากส่วนประกอบของต้น ซึ่งผู้ศึกษาทำการทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของอินทผลัม โดยนำช่อดอก หน่อข้าง ใบอ่อน และรากไปศึกษาว่าส่วนใดเจริญเติบโตได้ดีที่สุด กระบวนการศึกษามีขั้นตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ตรวจสอบเพศของชิ้นส่วนต้นอินทผลัม
ตอนที่ 2 นำชิ้นส่วนของช่อดอก หน่อข้าง ใบอ่อน และรากของต้นอินทผลัมเพศเมียมาล้างทำความสะอาด และนำมาฟอกฆ่าเชื้อ
ตอนที่ 3 เตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (MS MEDIUM 1962) และทำการปรับ pH จากนั้นเติมฮอร์โมนพืชที่พืชจำเป็นต้องใช้ในแต่ละระยะ ทำการปรับปริมาตรและเติม kelcogel แล้วนำไปอุ่นให้ละลายจากนั้นทำการตักใส่ขวดที่เตรียมไว้เเล้วนำไปนึ่งในเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ
ตอนที่ 4 การนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชลงขวด ทำความสะอาดตู้ถ่ายเนื้อเยื่อโดยเอทิลแอลกอฮอล์ นำขวดอาหารที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วมาวางเรียงไว้แล้วนำ forceps และมีดผ่าตัดที่สะอาดมาชุบเอทิลแอลกอฮอล์แล้วนำไปลนไฟ จากนั้นลนไฟบริเวณปากขวดอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อก่อน และหลังเปิดฝา และตัดชิ้นส่วนให้เล็กพอเหมาะ แล้วคีบใส่ขวด จากนั้นลนไฟบริเวณปากขวดแล้วปิดฝาขวด
ตอนที่ 5 การนำขวดเนื้อเยื่อพืชไปเลี้ยง นำขวดที่ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของชิ้นส่วนต้นอินทผลัมไปวางไว้บนชั้นในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำการควบคุมอุณภูมิ แสง และอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เหมาะสมกับแต่ละระยะนั้นๆ ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาการเจริญเติบโต โดยศึกษาจากความยาวของราก ความสูงของลำต้น และจำนวนใบ ซึ่งได้ผลการทดลอง ดังนี้
การทดลองยังไม่แล้วเสร็จ