ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในการสมานแผลขนาดเล็กจากสารสกัดคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ในใบบัวบก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฤทัยชนก เดชอารัญ, ฐิติกานต์ เบญจกุล, ธันยกานต์ เขียดเดช

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ประกอบกิจ แหลมม่วง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิเชียรมาตุ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ใบบัวบกเป็นพืชที่ช่วยสมานแผล สามารถใช้ชะล้างเชื้อโรครวมทั้งสิ่งสกปรกที่อาจปนเปื้อนอยู่ที่แผลให้หลุดออกไปได้ ซึ่งมีสารคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผล ยับยั้งการไหลของเลือด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ รศ.ภญ.ดร.มยุรี ตันติสิระ ภาควิชาเภสัช วิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะผู้วิจัย ทางคณะผู้จัดทำจึงเห็นว่ามีใบบัวบกปริมาณมากในพื้นที่จังหวัดตรัง และสำรวจสรรพคุณของใบบัวบกเกี่ยวกับในด้านการนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้ในการสมานแผลขนาดเล็ก เนื่องจากในจังหวัดตรังมีใบบัวบกจำนวนมากและประชาชนสมัยใหม่ไม่นิยมรับประทาน ทางคณะผู้จัดทำจึงได้มีการศึกษาสารคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ในใบบัวบก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผลและชะล้างเชื้อโรครวมทั้งสิ่งสกปรกที่อาจปนเปื้อนอยู่ที่แผลให้หลุดออกไปได้ ทางคณะทำจึงมีการสกัดสารคาร์ดิแอกไกลโคไซด์และนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการสมานแผล โดยมีวิธีการขั้นตอนคือ การสกัดสารคาร์ดิแอกไกลโคไซด์จากใบบัวบกโดยนำแค่ส่วนใบจากนั้นนำไปอบในตู้อบ (hot air oven) ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 วัน เมื่อพืชสมุนไพรใบบัวบกแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด และนำใบบัวบกที่บดแล้วไปร่อนกับตะแกรงกรองเพื่อให้ขนาดผงมีความละเอียดสม่ำเสมอ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบสารคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ โดยนำใบบัวบกที่กรองเสร็จแล้วมาตรวจสอบโดยนํามาละลายด้วยคลอโรฟอร์ม (CHCl₃) ปริมาตร 50 ml กรองและนำสารละลายที่ได้จากการกรองมาหยดด้วย 1% ไอร์ออน(III) คลอไรด์ (FeCl₃) แล้วหยดด้วยกรดแกลเชียลแอซีติก (glacial acetic acid) จากนั้น และค่อยๆหยดกรดซัลฟิวริก (conc. H₂SO₄) เข้มข้น 12 Molarity ลงไปข้างหลอด ผลบวกจะปรากฏวงแหวนสีน้ำตาลบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นของสารสกัดกับกรดซัลฟิวริก และนำสารละลายที่ได้ตรวจสอบสารคาร์ดิแอกไกลโคไซด์มาทำเป็นผลิตภัณฑ์โดยการนำผงใบบัวบกที่ผ่านการตรวจสอบสารมาแล้วไปผสมกับ Body oil , Natural candle wax และ น้ำ ผสมให้เข้ากันและเก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการหยิบใช้งาน