การศึกษาผลของบรรจุภัณฑ์ชีวภาพชนิด Polybutylene succinate และ Polylactic acid ขนาดไมโครในดินต่อการเจริญเติบโตของปอเทือง (Crotalaria juncea L.)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชชา กองลี, ทิพวรรณ ทวียนต์เนรมิตร, ลลิตา ประยูรศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พอหทัย พิพัฒนชัยภูมิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพเป็นที่นิยมใช้เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกทั่วไป เนื่องจากย่อยสลายทางธรรมชาติได้ง่าย อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าพลาสติกชีวภาพตามท้องตลาดสามารถย่อยสลายได้ภายใต้ภาวะควบคุม (กรีชชาติ ว่องไวลิขิต, 2562) นอกจากนี้งานวิจัยของ Qi et al (2018) พบว่าถุงคลุมหน้าดินชีวภาพขนาดไมโครส่งผลด้านลบต่อการเจริญเติบโตของข้าวสาลี ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าพลาสติ กชีวภาพอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม ผู้พัฒนาโครงงานจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของบรรจุภัณฑ์ชีวภาพชนิด Polybutylene succinate และ Polylactic acid ขนาดไมโครในดินต่อการเจริญเติบโตของปอเทือง Crotalaria juncea L.