การพัฒนาดีเอ็นเอเซนเซอร์ โดยใช้การเปลี่ยนสีของอนุภาคนาโนเงิน สำหรับตรวจสอบยีนก่อโรคตายพรายในกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชรพล กันภัย, เจษฎาภรณ์ สหกุลบุญญรักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิภา อาสิงสมานันท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการพัฒนาดีเอ็นเอเซนเซอร์ โดยใช้การเปลี่ยนสีของอนุภาคนาโนเงิน สำหรับตรวจสอบยีนก่อโรคตายพรายในกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนา DNA sensor เพื่อใช้ตรวจสอบยีนที่ก่อโรคตายพรายในกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องที่สามารถส่งสัญญาณและสังเกตการเปลี่ยนสีได้ด้วยตาเปล่าทันที โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาและคัดเลือกยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคตายพรายในกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องจากฐานข้อมูลกล้วย คือ เลือกยีนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตายพราย ได้แก่ ยีนrandomG26920 มาสืบค้นและออกแบบ Primer โดยใช้โปรแกรม Primer3 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ชีวสารสนเทศ (bioinformatics) ตอนที่ 2 การออกแบบ DNA probe ที่จำเพาะกับยีนที่ต้องการศึกษา คือ ออกแบบและสังเคราะห์ DNA Probe ที่จำเพาะกับยีน randomG26920 ที่ และตรวจสอบความจำเพาะของ DNA Probe ด้วยการทำ hybridization และการทำ sequencing และตอนที่ 3 การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพของ DNA sensor โดยการใช้วิธีการ DNA hybridization คือ การเตรียมอนุภาคนาโนเงิน และใส่ไปใน DNA probe วัดค่าการดูดกลืนแสง โดยวิเคราะห์ผลจากการเปลี่ยนสีของอนุภาคนาโนเงิน โดยใช้หลักการการตกตะกอนและเปลี่ยนสีของสารละลายผลึกนาโนเงิน หากมียีนเป้าหมายสารละลายจะแสดงสีออกมา ซึ่งการที่ DNA จับกับ Probe นั้นจะช่วยป้องกันผลึกนาโนเงินตกตะกอน แต่หากไม่มียีนเป้าหมายผลึกนาโนเงินจะตกตะกอนและเปลี่ยนสีไป