ฟิล์มแอกทีฟจากเจลเซลลูโลสคอมพาวด์ขี้เถ้าแกลบเสริมฤทธิ์ ยืดอายุการสุกของกล้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรธิดา โพธิ์กลาง, ณภัทร ทรัพย์เมฆ, ไคยซ่า แพร์สสัน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ, เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 475,455 ไร่ และกำลังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ แต่เกษตรกรพบปัญหาการเสื่อมคุณภาพของกล้วยหลังเก็บเกี่ยวส่งผลทำให้รายได้ลดต่ำลง เนื่องจากกล้วยเป็นผลไม้กลุ่ม climacteric fruit ที่มีอัตราการหายใจเปลี่ยนแปลงตามอายุ จากการศึกษางานวิจัยหลายงานได้ควบคุมการสุกของกล้วยที่เป็นผลไม้ส่งออกโดยใช้กระดาษที่มีถ่านกัมมันต์ดูดซับเอทิลีน แต่กระดาษที่ใช้ไม่สามารถควบคุมโรคขั้วหวีเน่าได้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการยืดอายุของกล้วยและป้องกันโรคหวีเน่า ทำให้อายุการเก็บนานขึ้น จึงได้ทำการศึกษาสารสกัดจากธรรมชาติที่ใช้เคลือบผิวกล้วยหอมทอง ให้สามารถควบคุมอัตราการหายใจ การดูดซับเอทิลีน และความสามารถในการยับยั้งโรคหวีเน่า ในการศึกษาพบว่าการนำเซลลูโลสที่ได้จากแบคทีเรียมาเป็นวัสดุดูดซับควบคุมไอน้ำ และควบคุมให้อากาสผ่านเข้าออกได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้เปอร์เซนต์มวลที่หายไปน้อยกว่าการใช้ CMC เคลือบผลกล้วย และนอกจากนั้นสีของกล้วยยังเปลี่ยนแปลงช้ากว่า และเมื่อทำการผสมขี้เถ้าแกลบพบว่าความสามารถในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพของกล้วยจะช้ามากขึ้นเนื่องจากขี้เถ้าแกลบช่วยดูดซับเอทิลีน เมื่อทำการคอมพาวด์กับเจลาตินจะทำให้สารสามารถเคลือบติดผิวกล้วยได้ดีขั้นและประสิทธิภาพในการยืดอายุการสุกของกล้วยเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังไม่สามารถควบคุมรคขั้วหวีเน่าได้ ดังนั้นจึงได้ทำการเสริมฤทธิ์ในการเคลือบกล้วยหอมทองตั้งแต่ขั้วหวี ด้วยสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากขิง การทาสารคอมพาวด์ให้เกิดแผ่นฟีล์มบางบนผิวกล้วยจะสามารถยืดอายุการสุกของกล้วย และการเปลี่ยนแปลงขั้วหวีของกล้วย ทำให้กล้วยสามารถคงสภาพได้นาน 30 วันที่อุณหภูมิห้อง ยังสภาพความสดของกล้วยได้ทั้งสภาพสี ลักษณะเนื้อสัมผัส ควบคุมการขึ้นราได้ดีกว่าการยืดอายุของกล้วยด้วยกระดาษแอกทีฟกัมมันต์ มีราคาต้นทุนเพียง 0.13 บาท/ผล