การเปรียบเทียบสารสกัด ALKALOIDS จากใบและเมล็ดน้อยหน่า เพื่อกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ส้ม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุจิราพร สินสุวรรณ, ณัฐณิชา ใจสุข
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรวัฒน์ วโรภาษ, กาญจนา คำจีนะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การจำกัดสัตว์จำพวกศัตรูพืชนั้นจำเป็นต้องใช้สารเคมีต่างๆ จากเหตุที่ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสิ่งแวดล้อมเป็นต้นทุนที่มิได้รวมอยู่ในราคาซื้อขาย การใช้สารเคมีจึงกลับกลายเป็นการผลักภาระของผลกระทบไปสู่ภายนอก ระบบนิเวศที่ถูกทำให้เปราะบางลงไม่สามารถรักษาความสมดุลในธรรมชาติ และส่งผลต่อแนวโน้มการระบาดของศัตรูพืชที่นับวันจะรุนแรงและถี่ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ใช้ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับมิติแรกของประสิทธิภาพมากกว่า จึงทำให้สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายในวง ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญของปัญหานี้ และคิดค้นวิธีการแก้ปัญหา โดยการเลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติเพื่อกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ส้ม โดยการเลือกน้อยหน่าในการสกัดสารครั้งนี้ ในใบและเมล็ดน้อยหน่ามีสารเคมีที่ชื่อ Anonanine ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันอยู่ประมาณ 45 % ประกอบด้วย Organic acid หลายชนิด Resin Steroids Alkaloid และอื่น ๆ ส่วนที่เป็นเมล็ด ในสารอัลคาลอย ชื่อ Anonaine มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ฆ่าเพลี้ยจักจั่น มวนเขียว แมลงวัน ตั๊กแตน มอดแป้ง แมลงวันทอง และ เหา จากการศึกษาวิจัยใบและเมล็ดน้อยหน่ามีสรรพคุณในการฆ่าเหา ในการสกัดนั้นจะใช้วิธีการสกัดแบบ soxhet extraction เป็นวิธีการสกัดเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณไขมัน ในตัวอย่างอาหาร หรือปริมาณน้ำมันหอมระเหยในสมุนไพร ซึ่งเป็นการสกัด แบบต่อเนื่องโดยใช้ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำการสกัดทำได้โดยให้ความร้อนจนตัวทำละลายระเหยขึ้นไปแล้วกลั่นตัวลงมาใน thimble ซึ่งบรรจุตัวอย่างไว้ เมื่อสารที่สกัดได้สูงถึงระดับกาลักน้ำ สารสกัดจะไหลกลับลงมาใน flask วนเวียนเช่นนี้จนกระบวนการสกัดสมบูรณ์ โดยสามารถสังเกตจากสีของตัวทำละลาย เมื่อสกัดเสร็จแล้วจะนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเมล็ดและใบของน้อยหน่า