การศึกษาโครงสร้างของแผ่นกั้นน้ําที่มีผลต่อความสามารถในการต้านการไหลของน้ําสําหรับ ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาน้ําท่วม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บุณยาพร แสนบ้าน, ภัสภร รองเมือง, ณิชาภา แก้วชิงดวง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กนกพร วิลัยศิลป์, ปิยะนุช เขียวอร่าม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หลายพื้นที่ในประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง วิธีการป้องกันน้ำเพื่อไม่ให้ไหลเข้าไปในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ นิยมนำกระสอบทรายมาเรียงชิดกันเป็นแนวผนังกั้นน้ำ นอกจากความยากลำบากในการติดตั้งแล้วยังไม่สะดวกต่อการจัดเก็บอีกด้วย กระสอบและทรายจำนวนมหาศาลจะถูกนำมาใช้งานและท้ายที่สุดจะเกิดเป็นขยะ หลังจากที่ระดับน้ำลดลงแล้ว จากการสืบค้นพบว่าในต่างประเทศมีการใช้นวัตกรรมที่ชื่อว่า NOAQ Boxwall ที่มี ลักษณะเป็นแผ่นรูปตัว L มาใช้ในการกั้นน้ำแทนกระสอบทราย ซึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบ พบว่า ส่วนประกอบที่มีความโค้งนูนออกมาจากบริเวณผนังและฐานของแผ่นกั้นน้ำ ซึ่งในการศึกษานี้เรานิยามส่วน ประกอบนี้ว่า ครีบ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้แผ่นกั้นน้ำสามารถต้านน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงงานนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของครีบที่มีผลต่อการต้านการไหลของน้ำและนำผลการศึกษาไปออกแบบ แผ่นกั้นน้ำเพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับการใช้งาน โดยใช้โปรแกรม Solidworks ในการจำลองวงกลมเพื่อสร้างแบบจำลองแผ่นกั้นน้ำ เพื่อให้ความโค้งของครีบเปลี่ยนไปตามรัศมีของวงกลม จากนั้นจึงวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของ แผ่นกั้นน้ำ คือ การกระจายแรงดันน้ำ ความแข็งแรงของโครงสร้าง และโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย โดยจากการ วิเคราะห์พบว่า แผ่นกั้นน้ำที่สามารถกระจายแรงดันน้ำได้มากที่สุด สร้างขึ้นจากวงกลมรัศมี 1.3 เมตร และแผ่นกั้นน้ำ ที่มีโครงสร้างแข็งแรงและมีโอกาสที่เกิดจะเกิดความเสียหายต่ำที่สุด คือแผ่นกันน้ำที่สร้างขึ้นจากวงกลมรัศมี 1.5 เมตร