การศึกษา​ปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้นรูปเม็ดท็อปปิ้งโดยใช้วิธี​กา​ร​ Spherification​

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ตรีชวิศ ธิติภาสวงศกร, กิตติธัช คุณาศัย, อัครพงษ์ ลิ้มสุวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัชรพงศ์ พระไว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันอาหารโมเลกุลเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีการใช้เทคโนโลยีและเทคนิคที่น่าสนใจรวมถึงรูปลักษณ์ของอาหารที่แปลกใหม่ โดยทำการใช้วิธี spherification ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการทำอาหารระดับโมเลกุล มีกรรมวิธีคือใช้โซเดียมอัลจิเนตและแคลเซียมแลคเตทในการผลิตเจลที่มีลักษณะทรงกลม เรียกว่า “คาเวียร์โมเลกุล” วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อต้องการทำให้คาเวียร์โมเลกุลมีความกลมมากที่สุดภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงของโลก โดยทำการศึกษาความเข้มข้นพร้อมวัดความหนืดของสารที่ใช้หยด ซึ่งสารดังกล่าวประกอบไปด้วยน้ำเชื่อมที่มีอัตราส่วนต่างกัน นั่นคือ อัตราส่วนระหว่าง น้ำ:น้ำตาลทราย เป็น 1:5,1:3, 1:1, 3:1 และ​ 5:1​ ตามลำดับ หลังจากนั้นนำน้ำเชื่อมที่ได้ตามอัตราส่วนไปผสมกับโซเดียมอัลจิเนต 1% (w/w) ทำการหยดลงในสารละลายแคลเซียมแลคเตท 0.5%(w/w) โดยใช้หลอดเข็มฉีดยาพลาสติกในการหยด กรณีแรงที่ใช้กดจะควบคุมด้วยบอร์ด Arduino พบว่าสารละลายจะทำปฏิกิริยากันทันทีทำให้เกิดการก่อตัวเป็นรูปของเจลหรือคาเวียร์โมเลกุล ทำการวัดค่าความกลม ค่าความหวานและแรงกด โดยคณะผู้จัดทำมีแนวคิดในการพัฒนาอาหารสมัยใหม่ เช่น การทำกระบวนการ spherification โดยใช้เครื่องคาเวียร์ดรอปเปอร์ที่มีการควบคุมผ่านทาง application บนโทรศัพท์มือถือ หรือจะเป็นการเปลี่ยนสารที่ใช้ในการทำคาเวียร์โมเลกุล อย่างเช่นการเปลี่ยนน้ำเชื่อมเป็นน้ำผักและน้ำผลไม้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการกินผักผลไม้ของเด็กในช่วงวัยกำลังโต คณะผู้จัดทำเชื่อว่าโครงงานนี้จะส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาหารให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยมากกว่าที่กล่าวไม่มากก็น้อย