การศึกษาโครงสร้างการก่อสร้างของปราสาทหินพนมรุ้ง กรณีศึกษาระเบียงคต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤตพรต สุพรรณนอก, ชลธิชา ศาลางาม, สโรชา พุกรัดกรุด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นภาพร เทียมทะนง, รวิวรรณ กองมาศ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาโครงสร้างการก่อสร้างของปราสาทหินพนมรุ้ง กรณีศึกษาระเบียงคตนี้ เป็นการศึกษารูปแบบการศึกษาโครงสร้างทางวิศวกรรม ซึ่งรูปแบบการก่อสร้างดังกล่าวเป็นรูปแบบโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักในตัวมันเอง มีลักษณะทรงเป็นทรงโค้ง ในการศึกษาโครงงานนี้พบว่า รูปแบบการก่อสร้างดังกล่าวมีการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการก่อสร้าง โครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหลักการทางฟิสิกส์ที่ใช้ในการก่อสร้างระเบียงคตและเพื่อนำรูปแบบและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับปัจจุบัน และบูรณะโบราณสถาน ซึ่งการศึกษาโครงงานนี้เริ่มต้นด้วยการศึกษาประเภทของหินที่ใช้ในการสร้างปราสาทหินพนมรุ้งว่าใช้หินชนิดใดในการก่อสร้าง ศึกษาทฤษฎี core bearing ซึ่งใช้ในการสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง ศึกษาแรงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี core bearing และศึกษาขนาดของหินโดยการลงสถานที่จริงแล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบอัตราส่วนเพื่อทำแบบจำลอง จากการศึกษาในเบื้องต้นสามารถนำประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาโครงงานนี้ คือ ได้ศึกษาหลักการของการก่อสร้างปราสาทหินโดยใช้วิธีการ Core bearing และ ได้ศึกษาหลักการทางฟิสิกส์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้าง ซึ่งการศึกษาโครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตต่อไป