รถเข็นนำผู้ป่วยขึ้นลงรถยนต์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นริน อินธิแสง, ภูริณัฐ คำสันเทียะ, พิชญา ธนมูล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สิทธิชัย ยางธิสาร, อรนุช ชื่นตา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปลาปากวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากสภาพปัจจุบันการนำผู้ป่วยหรือคนชราขึ้นหรือลงรถยนต์ นั้นสร้างปัญหาให้กับทั้งป่วย คนชราและผู้ดูแลเป็นอย่างมาก เพราะการขึ้นลงรถยนต์นั้นผู้ป่วยหรือคนชราต้องออกแรงในการพยุงตัวแต่หลายคนแรงพยุงไม่พอต้องใช้ผู้ดูแลเข้าไปพยุงช่วยต้องอุ้ม จากการสังเกตพบว่าส่วนมากจะนำผู้ป่วยหรือคนชราขึ้นรถยนต์ที่เบาะด้านหน้าข้างคนขับเพราะมีความกว้างสะดวกต่อการย้ายผู้ป่วยหรือคนชรา ซึ่งการอุ้มขึ้นหรือให้ผู้ป่วยหรือคนชราขึ้นเองนั้นยากลำบากมากและอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บซึ่งรถเข็นนำผู้ป่วยขึ้นลงรถยนต์ได้ออกแบบต่อเติมจากรถเข็นผู้ป่วยให้สามารถปรับเบาะนั่งให้สูงต่ำตั้งแต่ 25 – 65 เซนติเมตร ให้เท่ากับระดับเบาะรถยนต์โดยรับน้ำหนักมากสุด 150 กิโลกรัม โดยใต้เบาะมีชุดรางเลื่อนสองชุด ชุดที่หนึ่งเลื่อนไปด้านหน้ามากสุด 30 เซนติเมตร รางเลื่อนชุดที่สองใช้เลื่อนเบาะไปด้านข้างเลื่อนได้มากสุด 40 เซนติเมตร ซึ่งรางเลื่อนทั้งสองชุดมีความลื่นและแข็งแรงทำให้สะดวกต่อการเลื่อนผู้ป่วยไปยังเบาะรถยนต์ ในการขึ้นลงรถยนต์เริ่มจากให้ผู้ป่วยนั่งบนเบาะรถเข็นใช้กลไกหมุนผ่านเฟืองดึงแกนเหล็กเข้าหากันทำให้เบาะถูกยกขึ้นเพื่อยกเบาะนั่งให้สูงต่ำเก่ากับระดับเบาะรถยนต์แล้วเลื่อนเบาะนั่งโดยใช้ระบบรางเลื่อนทั้งสองชุดเพื่อใช้เลื่อนผู้ป่วยไปด้านหน้าแล้วเลื่อนไปด้านข้างเพื่อเทียบกับเบาะรถยนต์ แล้วผู้ป่วยขยับตัวเข้าไปยังเบาะรถยนต์ ในการลงจากรถยนต์ก็เลื่อนเบาะนั่งรถเข็นไปเทียบกับเบาะรถยนต์แล้วให้ผู้ป่วยขยับตัวมานั่งบนเบาะรถเข็นแล้วเลื่อนด้านข้างไปยังรถเข็นแล้วเลื่อนถอยเข้าไปยังรถเข็น

จากการทดสอบประสิทธิภาพโดยการเปรียบเวลาการขึ้นลงรถยนต์เฉลี่ยพบว่า การใช้รถเข็นนำผู้ป่วยขึ้นลงรถยนต์ใช้เวลาน้อยกว่าการขึ้นเอง 1.525 เท่า และน้อยกว่าการอุ้ม 1.084 เท่า ส่วนการเปรียบการใช้แรงยกผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงรถยนต์ระหว่างรถเข็นขึ้นลงรถยนต์ กับการอุ้ม และให้ผู้ป่วยขึ้นลงเอง มีค่าเป็น 22.4.นิวตัน 526 นิวตัน 642 นิวตัน ตามลำดับ ทำให้ได้ค่าประสิทธิภาพการได้เปรียบเชิงกลที่เกิดขึ้นจริง AMA เป็น 28.6 และจากการทดสอบความพึงพอใจต่อการบาดเจ็บขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงรถยนต์ระหว่างรถเข็นขึ้นลงรถยนต์ กับการอุ้ม และให้ผู้ป่วยขึ้นลงเอง ในระดับดีมาก ดี และพอใช้ เป็น 0,1,3 ตามลำดับ