การศึกษาสารสกัดจากเมล็ดกระเจี๊ยบเขียวในการป้องกันผีเสื้อวงศ์เจาะผ้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กัลยกร บุญคง, มนปิญา อริยะวงศ์, ชญานันท์ วงศ์จันทรมณี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ถนัดศรี ทัดเที่ยง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตผ้าและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง มีลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เเละยังอาศัยความปราณีตในการผลิตอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยมีชื่อเสียงในการผลิตผ้าแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมมากมาย และในแต่ละปีมียังการส่งออกผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ (สถิติการส่งออกผ้าไหมไทย , 2559)

เเต่การส่งออกผ้าในเเต่ละปีนั้น ก็ยังพบปัญหามากมายเเละปัญหาเหล่านั้นยังส่งผลต่อรายได้เป็นอย่างสูง โดยปัญหาที่พบ เช่น ปัญหาด้านต้นทุนในการผลิต ปัญหาผลิตภัณฑ์ที่เกิดความเสียหาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปัญหาการกัดกินของผีเสื้อเจาะผ้า โดยระยะ 1-2 ปีนี้ กลับพบการแพร่ระบาดผีเสื้อเจาะผ้าทั่วไปมากขึ้น สันนิษฐาน ว่าเป็นผลพวงจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ในช่วง 1-2 ปีหลัง ทำให้ป่าตามธรรมชาติมีน้อยลง ทำให้ผีเสื้อเจาะผ้าต้องย้ายถิ่นเข้ามาโจมตีพื้นที่การเกษตรกรเเละพื้นที่อาศัยของชาวบ้านมากขึ้น( สมชาย ชาญณรงค์กุล กรมวิชาการเกษตร, 2560 ) ซึ่งผีเสื้อเจาะผ้า ที่พบมากนี้จะส่งผลเสียต่อการส่งออกผ้า ทำให้ชาวบ้านหรือผู้ผลิตผ้าเกิดปัญหาการขาดทุนในที่สุด เนื่องจากผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพจึงไม่สามารถขายได้ นอกจากนี้ผีเสื้อเจาะผ้ายังส่งผลกระทบต่อการดำรงของชีวิตของประชาชนทั่วไปอีกด้วย เนื่องจากผีเสื้อเจาะผ้ากินผ้าเป็นอาหาร อาจทำให้เสื้อผ้าภายในบ้านเกิดความเสียหายได้ เเละทำให้จำเป็นที่ต้องซื้อตัวใหม่ซึ่งเป็นการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยในปัจจุบันในการจะเเก้ปัญหาข้างต้นมีเพียงเเค่การใช้ยาฆ่าเเมลงในการกำจัดเท่านั้น ซึ่งสารเคมีที่ใช้อาจตกค้างในผ้า เเละส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

คณะผู้จัดทำจึงมีเเนวคิดที่จะเเก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น โดยคณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่จะสามารถป้องกันผีเสื้อเจาะผ้าได้โดยไม่เกิดผลเสียต่อเนื้อผ้าหรือผีเสื้อเจาะผ้าเเต่อย่างใด โดยพบว่า กระเจี๊ยบเขียวบริเวณเมล็ด มีสารประกอบ Fanesol derivatives เเละ aliphatic esters ซึ่งเป็น สารระเหยได้ง่ายเเละมีคุณสมบัติในการป้องกันผีเสื้อเจาะผ้า คณะผู้จัดจึงต้องการสกัดสาร Fanesol derivatives เเละสาร aliphatic esters สกัดออกมาโดยใช้วิธีการสกัดเเบบน้ำมันหอมระเหย ดังนั้นเมื่อได้สารสกัดจากเมล็ดกระเจี๊ยบเขียวสารสกัดที่ได้จะสามารถเเก้ปัญหาการกัดกินของผีเสื้อวงส์เจาะผ้าได้ โดยไม่มีการใช้สารเคมีที่มีผลเสียต่อธรรมชาติเเละไม่ส่งผลเสียต่อผ้าหรือผีเสื้อวงศ์เจาะผ้าเเต่อย่างใด