การชักนำการเกิดพอลิพลอยดีในพริกหยวก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กวิน ชูสิน, ปาณัสม์ รุ่งนิรันดรกุล, กฤษฎา ภูมิภมร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ทัศน์ปองคุณ ดาราจร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการเกิดโพลีพลอยดี (polyploidy) ในแคลลัสของพริกหยวก (Capsicum annuum Linn.) โดยศึกษาการแช่เเคลลัสของพริกหยวกในสารละลายโคลชิซีน ใน 2 ปัจจัย ได้เเก่ความเข้มข้นของโคลชิซีน และเวลาในการแช่ในสารละลายโคลชิซีน โดยในปัจจัยด้านความเข้มข้นนั้น ใช้สารละลายโคลชิซีนความเข้มข้น 0mg/L,100mg/L,200mg/L,300mg/L,400mg/L ส่วนปัจจัยด้านเวลา จะแช่แคลลัสที่อุณหภูมิ25องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24ชั่วโมง,48ชั่วโมงเเละ72ชั่วโมง จากนั้นนำเเคลลัสมาเพาะเลี้ยงในขวดเพาะเลี้ยงโดยใช้อาหารสูตรMSเป็นเวลา30วัน จากนั้นบันทึกผลการศึกษาด้านอัตราการรอดชีวิตของเเคลลัสหลังจากเเช่สารละลายโคลชิซีน ขนาดเซลล์ปากใบ จำนวนเม็ดคลอโรพลาสต์ ความหนาเเน่นของเซลล์ปากใบ ความยาวใบ ความยาวราก จำนวนใบ จำนวนราก และศึกษาคาริโอไทป์เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น