การศึกษาประสิทธิภาพของด้วงมูลสัตว์(กุดจี่)ที่มีผลต่อการลดปริมาณก๊าซมีเทน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พุทธิมา แสงอุบล, แพรวา ขอนพุดซา, พิชญาดา งางาม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
โนรฮีดายะห์ กาโฮง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันสภาวะภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อันมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) โดยสังเกตได้จากการที่อุณหภูมิของโลกมีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหานี้เกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ไนตรัสออกไซด์ซัลเฟอร์เฮ็กซะฟลูออไรด์เป็นต้น ซึ่งในหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญและตระหนักถึงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น โดยก๊าซเหล่านี้มักจะเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การทำเกษตร และปศุสัตว์ ซึ่งปริมาณก๊าซมีเทนที่ปล่อยจากมูลสัตว์ของปศุสัตว์มีประมาณ 80tg ต่อปี
จากการศึกษาพบว่าแมงกุดจี่ หรือ ด้วงมูลสัตว์ เป็นแมลงที่สามารถย่อยสลายมูลสัตว์ได้ โดยที่ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันสร้างรังจากมูลสัตว์เป็นก้อนทรงกลม แล้วฝังไว้ในดินให้ตัวอ่อนอาศัย และเมื่อตัวอ่อนโตขึ้น ก็จะย่อยสลาย มูลสัตว์นี้ไปได้ ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพของด้วงมูลสัตว์(กุดจี่)ที่มีผลต่อการลดปริมาณก๊าซมีเทน เพื่อสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการจัดการฟาร์มต่างๆ หรือในการทำปศุสัตว์ เพื่อลดการปลดปล่อยซ๊าซมีเทน