การศึกษาการเทียบเสียงดนตรีกับลำดับฟีโบนักชี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐปคัลภ์ จันทสิงห์, นิติรัฐ ทศกฎไพรี, ปรมัตถ์ มุ่งอินทร์กลาง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ทิพรัตน์ แสงฤทธิ์, ธัชพล เวชพิทักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จำนวนฟีโบนักชี หรือ เลขจำนวนฟีโบนักชี มีนิยามที่ว่า จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า จำนวนแรกคือ 0 และ 1 ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น 0,1,1,2,3,5,8,13,21,…

หากเขียนให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ F(n)=F(n-1)+F(n-2)จะได้ สัดส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ หรือ อัตราส่วนทอง ที่เราสามารถพบได้ ทั้งในสิ่งมีชีวิต และ

ไม่มีชีวิต เช่น

  • มหาวิหารพาร์เธนอน มีขนาดกว้าง 30.9 เมตร ยาว 69.5 เมตร (101.4*228.0ฟุต) เมื่อนำ

ขนาดมาคำนวณ เป็นอัตราส่วน จะพบว่าเป็นอัตราส่วนทองคำ

ในชีวิตประจำวันของพวกเรา ได้ยินเสียงเพลงตอนเข้าแถว และเสียงอื่นๆอีกมากมาย พวกเราต้องการที่จะนำเสียงเหล่านี้มาศึกษาและเปรียบเทียบว่าสิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายด้วยคณิตศาสตร์โดยใช้ฟีโบนักชีได้หรือไม่ ซึ่งจากการค้นคว้าพบว่าในตัวโน๊ตของดนตรีมีคณิตศาสตร์อยู่ในตัวโน๊ตจริงๆ ตัวอย่างเช่น ตัวโน๊ตเสียง เร คือ ตัวโน๊ตโด+1ช่อง ตัวโน๊ตมี คือ ตัวโน๊ตเร+1ช่อง และนี่เป็นตัวอย่างที่เราค้นคว้ามาได้ พวกเราจึงจะนำมาศึกษาต่อโดยเกี่ยวกับตัวโน๊ตบนเครื่องดนตรีต่างๆ