การสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงผสมไฟโบรอินและพอลิเมอร์เพื่อนำมาทำไหมะลาย(ที่ใช้ในทางการแพทย์)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นฤภัทร เจียมประเสริฐ, กันยารัตน์ มณีรัตน์, รวีจรัส เจริญโชควิทยา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทัศนียา มาตุการักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
ไหมละลายเป็นวัสดุที่ใช้ในการเย็บแผลทางเลือกหนึ่งทางการแพทย์ที่เป็นที่นิยมมากขึ้น ในงานด้านศัลยกรรมทางการแพทย์และการเย็บแผลที่ต้องการความสะอาด โดยมีการขึ้นรูปมาจากการสกัดสารประเภทคอลลาเจนแล้วนำผสมสารจำพวกพอลิเมอร์ จากนั้นนำมาเป่าหรืออัดฉีดด้วยแรงดันสูงโดยเครื่องขึ้นรูปไหมแบบไฟฟ้าสถิตเคลือบเส้นเป็นไหมที่ใช้ในงานผ่าตัด ในขณะที่ในบางครั้งการนำคอลลาเจนมาทำไหมละลายนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงประเภทผิวหนังสัตว์ที่นำมาสกัดเพื่อให้สามารถสกัดคอลลาเจนได้ในปริมาณที่สูงสุดและไม่ส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานในบางกลุ่ม อาทิเช่น บุคคลที่นับถือศาสนาอิสลามที่ไม่สามารถรับคอลลาเจนที่สกัดจากผิวหนังของสุกรได้ และคอลลาเจนที่สกัดได้จากผิวหนังสัตว์เลือดอุ่นจำพวกไก่หรือโคนมก็สกัดได้ในปริมาณที่น้อย ไฟโบรอินก็เป็นโปรตีนที่ได้จากรังไหมพันธุ์ไทยสีเหลืองที่สามารถนำมาขึ้นรูปไหมได้ มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อในร่างกาย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่สามารถละลายในของเหลวที่มีค่า pH ใกล้เคียงกับสารละลายในร่างกายได้ ผู้จัดทำจึงสนใจสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาวผสมไฟโบรอินและพอลิเมอร์ในส่วนผสมที่ต่างกันคือ ไฟโบรอินผสมกับพอลิเมอร์,ไฟโบรอินผสมคอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาว และไฟโบรอินผสมพอลิเมอร์และคอลลาเจน ในอัตราส่วน 1:1 เพื่อนำมาทำไหมละลายที่สามารถนำไปใช้ในงานด้านการแพทย์ เพราะปลากะพงเป็นปลาที่มีลักษณะของเกล็ดใหญ่ ส่งผลต่อปริมาณคอลลาเจนมีมากตามความกว้างของพื้นผิว และไฟโบรอินก็เป็นเส้นใยที่สามารถขึ้นรูปเป็นไหม ไม่เป็นพิษต่อร่างกายและได้รับการยอมรับในงานด้านการแพทย์ โดยให้การทำในการทดลองในครั้งนี้เพื่อไหมละลายมีคุณสมบัติในการละลายในชั้นผิวหนังของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)ศึกษาคุณภาพทางกลหรือความแข็งแรงระหว่างเส้นใยไฟโบรอินผสมกับพอลิเมอร์,ไฟโบรอินผสมคอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาว และไฟโบรอินผสมพอลิเมอร์และคอลลาเจนโดยใช้เครื่องวัดแรงดึง โดยกำหนดค่าแรงดึงหน่วยเป็นนิวตัน แล้ววิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้วิธี T-test 2)ศึกษาเวลาในการละลายของคุณภาพทั้งสามแบบ คือเส้นใยไฟโบรอินผสมกับพอลิเมอร์,ไฟโบรอินผสมคอลลาเจนจากเกล็ดปลากะพงขาว และไฟโบรอินผสมพอลิเมอร์และคอลลาเจน โดยนำมาละลายด้วยเมทานอล เติมสารละลาย tyrosinase คำนวณ % การ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำการทดลอง 3 รอบ โดยใช้ kojic acid เป็น positive control 3)ศึกษาการดูดซับน้ำของไหมละลายที่ผสมโดยสารแต่ละตัวแตกต่างกันโดยทดสอบด้วยเทคนิคอีมัลชั่นของน้ำในน้ำมัน และเชื่อมขวางด้วยกลูตารัลดิไฮด์ความเข้มข้นร้อยละ 0.05 โดยปริมาตรในสารละลายผสมอะซิโตนต่อน้ำ (3:1)อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เวลา 20 ชั่วโมง โดยทั้งการทำสามวิธีนี้เพื่อให้ทราบส่วนผสมในการทำไหมละลายที่ดีที่สุด
คำสำคัญ:คอลลาเจน,ไฟโบรอิน,ไหมละลาย,พอลิเมอร์,เกล็ดปลากะพงขาว