การพัฒนาระบบ H2O So Good เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเติมออกซิเจนในน้ำของกังหันน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชวัลกร คำตื้อ, อาทิตยา ไชยชนะ, เฉลิมเกียรติ ธนเจริญโชค
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สาธิต ธรรมขันทา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดจากสภาพแหล่งน้ำภายในโรงเรียน ซึ่งเกิดจากสภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำการไหลของน้ำลดลง น้ำทิ้งจากอาคารและบ่อบำบัดน้ำเสีย และจำนวนวัชพืชลอยน้ำที่มีปริมาณมาก ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงได้มีการคิดที่จะพัฒนาระบบ H2O So Good เพื่อใช้ในการเติมอากาศภายในแหล่งน้ำและสามารถส่งค่าคุณภาพน้ำไปที่จอแสดงภาพได้ โดยทั้งหมดจะใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด Solar
Farm โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบ H2O So Good เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเติมออกซิเจนในน้ำ เพื่อพัฒนาระบบ H2O So Good ให้สามารถส่งค่าคุณภาพน้ำไปที่จอแสดงผลได้ เพื่อพัฒนาระบบ H2O So Good ที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดจากแหล่งพลังงานสะอาด Solar Farm ได้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบ H2O So Good ในการเติมอากาศและการแสดงค่าคุณภาพน้ำและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่ใช้ระบบ H2O So Good โดยมีการสำรวจพื้นที่ทางเข้าออกของแหล่งน้ำในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย จากนั้นออกแบบกังหันน้ำ โดยมีต้นแบบมาจากกังหันน้ำชัยพัฒนา จากนั้นนำกังหันน้ำไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบ H2O So Good ซึ่งเป็นระบบที่จะมีการนำไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด Solar Farm มาใช้เป็นพลังงานให้กับกังหันน้ำ และมีการเก็บค่าดัชนีคุณภาพน้ำ ได้แก่ ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (DO) ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ (pH) ค่าของแข็งละลายในน้ำ (TDS) และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ (EC) ซึ่งจะมีการส่งข้อมูลค่าดัชนีคุณภาพน้ำผ่าน WIFI ไปแสดงผลเป็นค่าที่ได้และกราฟแนวโน้มที่จอแสดงผล เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ H2O So Good