การศึกษาผลของการใช้แคปซูลหุ้มปลูกเมล็ดพันธุ์จากวัสดุในท้องถิ่นต่ออัตราการงอกและอัตราการมีชีวิตรอดของเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่แก้ปัญหาฝนทิ้งช่วง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เกวลิน วันเผด็จ, อาทิตยา สืบสกุลพรหม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สร้อยฟ้า ขยันงาน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
. ความสำคัญและที่มาของปัญหา
“ข้าวพันธุ์ไร่” เป็นที่นิยมปลูกเป็นอย่างมากของเกษตรกรชาวแม่ฮ่องสอน เนื่องจากสภาพพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นภูเขาสูง พื้นที่ราบสำหรับทำนาข้าวมีน้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภคของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกษตรก่อนจึงหันมาปลูกข้าวพันธุ์ไร่ ซึ่งสามารถปลูกได้ในไร่ที่มีพื้นที่ลาดชั้นได้ วิธีการปลูกข้าวพันธุ์ไร่ตามวิถีภูมิปัญญาของเกษตรก่อน คือ ขุดหลุมตื้นๆ ใส่เมล็ดพันธุ์ข้าวหลุมละ 10 – 15 เมล็ด ฝังหลบแล้วจนกระทั้งเมล็ดงอกเจริญเติบโต จนกระทั้งถึงฤดูของการเก็บเกี่ยว
ในการปลูกข้าวพันธุ์ไร่นั้นเกษตรกรจะประสบปัญหาในช่วงของการงอกของเมล็ด เนื่องจากการปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติในการงอกของเมล็ด ซึ่งในสภาวะสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจะประสบกับฝนทิ้งช่วง ทำให้อัตราการงอกของเมล็ดข้าวที่ปลูกต่ำ ส่งผลให้ผลผลิตลดน้อยลง
คณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น เพื่อ ศึกษาพัฒนาแคปซูลหุ้มปลูกเมล็ดจากวัสดุในท้องถิ่นต่อการงอกและอัตราการมีชีวิตรอดของข้าวพันธุ์ไร่ในสภาวะฝนทิ้งช่วง โดยวัสดุในท้องถิ่นที่เลือกใช้คือ ขุยมะพร้าว จะเป็นตัวทำให้แคปซูลหุ้มปลูกมีลักษณะของการร่วนซุยทำให้แคปซูลมีการถ่ายเทอากาศได้ดี กากกาแฟมีธาตุอาหารไนโตรเจนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช สารอุ้มน้ำเป็นตัวให้ความชื้นแก่เมล็ดข้าวในขณะงอก และกาวแป้งเปียกสำหรับเป็นตัวยืดประสานกันของอนุภาคของขุยมะพร้าว กากกาแฟ และสารอุ้มน้ำ เป็นแคปซูลหุ้มปลูกเมล็ดข้าวพันธุ์ไร่ที่เหมาะสมระหว่างการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตในระยะแรกของตันข้าวพันธุ์ไร่ ซึ่งเป็นการนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยเพิ่มอัตราการงอก และอัตราการมีชีวิตรอดของเมล็ดข้าวพันธุ์ไร่ในสภาวะฝนทิ้งช่วงได้อีกด้วย