การศึกษาไมโครพลาสติกในดินที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของปูก้ามดาบ (Austruca annulipes)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัลยกร ทองส่งโสม, ปิยาพัชร เพชรหิน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชรา พงศ์มานะวุฒิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพื้นที่ที่มีปริมาณไมโครพลาสติกมากและพื้นที่ที่มีปริมาณไมโครพลาสติกน้อยจะส่งผลต่อพฤติกรรมของปูก้ามดาบที่แตกต่างกันหรือไม่ โดยจะแบ่งแยกพื้นที่ศึกษาออกเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณไมโครพลาสติกมากและพื้นที่ที่มีปริมาณของไมโครพลาสติกน้อยแล้วทำการบันทึกพฤติของปูก้ามดาบโดยการบันทึกวิดีโอเพื่อศึกษาพฤติกรรมของปูก้ามดาบจำนวน 60 ตัว โดยแบ่งเป็น เพศผู้ตัวใหญ่ 15 ตัว เพศผู้ตัวเล็ก 15 ตัว เพศเมียตัวใหญ่ 15 ตัว และเพศเมียตัวเล็ก 15 ตัว (ปูขนาดตัวใหญ่จะมีขนาดความกว้างของกระดองปูมากกว่า 14 mm. และปูขนาดตัวเล็กจะมีขนาดความกว้างของกระดองปูน้อยกว่า 14 mm.) ทำการบันทึกเวลาตัวละ 7 นาที แล้วดูการจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของปูก้ามดาบโดยแบ่งออกเป็น การกินอาหาร การต่อสู้ การเดิน การเกี้ยวพาราสี การทำความสะอาดร่างกาย การขุดรู การเข้ารูปู และการยืนของแต่ละตัวภายในวิดีโอ การศึกษานี้จะมีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์ปูก้ามดาบ การจัดการขยะและพัฒนาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมขององค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมไปถึงประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่งเติมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่