ชีวภัณฑ์จากเชื้อแบคทีเรีย Acinetobacter baumannii ในการย่อยสลาย สารเคมีที่ตกค้างในดิน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ยศวิชญ์ วัฒนกุญชร, ณัฐพร ลำใย, ภัทรวดี มณีวงษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พื้นที่ในประเทศไทยมีการทำเกษตรมากกว่าร้อยละ 62 ของเนื้อที่ทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน ดังนั้นดินถือว่ามีความสำคัญต่อการทำการเกษตรเป็นอย่างมาก การจัดการดิน คุณภาพของดินและคุณสมบัติของดินทำให้ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรดีไปด้วยแต่ในทางกลับกัน ดินมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมมีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดการสะสมของสารเคมีตกค้างอยู่ในดินส่งผลต่อสุขภาพ และ ระบบห่วงโซ่อาหาร สิ่งแวดล้อม และการปนเปื้อนของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในดินเป็น ปัญหาสำคัญที่หลายฝ่ายต่างให้ความสนใจ จากปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศ กระบวนการเสื่อมสลายของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในดินสามารถเกิดขึ้นเองได้ตาม ธรรมชาติแต่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเชื้อแบคทีเรีย Acinetobacter baumannii มาใช้ในการแก้ปัญหาสารเคมีที่ตกค้างในดิน
จากการตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีตกค้างในดินทางการเกษตรในพื้นที่ อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ ในแปลงเกษตรกรที่มีรูปแบบการผลิตพืชผลที่แตกต่าง เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ พบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 1) กลุ่มคาร์บาเมตในแปลงผลิตแบบโคกหนองหนา 2) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในแปลงผลิตแบบเคมี โคกหนองนา 3) กลุ่มไพรีทรอยด์ ในแปลงผลิตแบบเคมี โคกหนองนาและอินทรีย์ วิเคราะห์ตัวอย่างดินหลังใช้ผลิตภัณฑ์พบว่า แปลงผลิตพืชในรูปแบบอินทรีย์ไม่พบสารเคมีทั้ง 3 กลุ่ม ตกค้างในดิน แต่ยังคงพบสารเคมีตกค้างในแปลงผลิตพืชรูปแบบเคมีและโคกหนองนา จากการทดลอง นี้ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เชื้อ Acinetobacter baumannii เป็นตัวออกฤทธิ์ มีประสิทธิภาพในการเร่งสลายสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในดินได้เร็วยิ่งขึ้นและควรมีการใช้อย่างต่อเนื่อง