การศึกษาหินแปรบริเวณแอ่งเชียงใหม่เพื่ออธิบายการเกิดแอ่งเชียงใหม่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนัท จักรฤทธิพงศ์, ปุณยวัจน์ ลี้สกุลรักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชราพร ฉลาด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
อิทธิพลจากการชนกันระหว่างทวีปอินเดียและยูเรเชียส่งผลทำให้เกิดการแปรธรณีสัณฐานในบริเวณตอนบนของประเทศไทย ก่อให้เกิดแอ่งเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแอ่งตะกอนขนาดใหญ่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ลักษณะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของแอ่งเชียงใหม่คือการแปรสภาพแบบไพศาลของดอยสุเทพ และดอยอินทนนท์ ซึ่งเกิดการการยกตัวของหินฐานอายุพรีแคมเบรียมในบริเวณทางด้านตะวันตกของแอ่งเชียงใหม่ ในช่วงของการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีปอินเดียและยูเรเชีย
การศึกษาหินแปรจึงเป็นหนึ่งในวิธีการศึกษากระบวนการแปรธรณีสัณฐานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการแปรสภาพของหินโดยใช้ศิลาวิทยา ข้อมูลที่ได้บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมขณะที่แปรสภาพ และวิวัฒนาการของกระบวนแปรสัณฐาน อีกทั้งยังสามารถนำมาสรุปและอธิบายการเกิดแอ่งเชียงใหม่ได้