ผลของโซเดียมบิวทาเรตต่อการหดตัวของลำไส้ใหญ่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กชพิชย์ มากศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มาเรียม วัทนาด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พรีไบโอติกส์ (prebiotics) คือ อาหารของจุลินทรีย์ ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร จึงเป็นสารอาหารที่มนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ตัวอย่างของพรีไบโอติก เช่นโอลิโกแซคคาไรด์ ซึ่งพบในกล้วย เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม หอม และอินนูลิน (inulin) ซึ่งพบในแก่นตะวัน กระบก เผือก หัวหอม และกระเทียมเป็นต้น โดยพรีไบโอติกส์นั้นต้องอาศัยแบคทีเรียในกลุ่มทางเดินอาหาร (gut microbiota) เพื่อมาย่อยสลาย ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่าง prebiotics และ microbiota เรียกว่า synbiotics โดยสารอาหารที่ย่อยได้นั้นจะถูกนำไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารให้เหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านั้นก็จะไปผลิตกรดอินทรีย์เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ และเพิ่มความชื้นให้แก่อุจจาระ ส่งผลให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น โดยถึงแม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า prebiotics นั้นสามารถช่วยในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ แต่กว่าที่สารอาหารจะถูกย่อยจนทำงานได้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆมากมาย ทั้งในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการย่อยจากโพรไบโอติก เราจึงไม่อาจสรุปได้ว่าการที่ลำไส้ใหญ่หดตัวนั้นเป็นผลมาจากโอลิโกแซคคาไรด์โดยตรง หรือโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นเพียงอาหารที่เลี้ยงจุลินทรีย์ซึ่งจะผลิตกรดอินทรีย์มากระตุ้น หรือเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโอลิโกแซคคาไรด์กับกรดอินทรีย์ ข้าพเจ้าจึงได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้โดยใช้ butyrate (กรดอินทรีย์) และ azithromycin (antibiotics) ที่ความเข้มข้น 0.1 mM, 1 mM และ 10 mM เพื่อดูกลไกที่ส่งผลโดยตรง (in vitro) ต่อการหดตัวของลำไส้ใหญ่ของหนูถีบจักรในภาวะปกติ (มีแบคทีเรีย) โดยหากพบว่าผลการทดลองเป็นไปตามทฤษฎี ก็จะนำไปสู่การประยุกต์เป็นสารตัวอื่นต่อไป