การศึกษาการม้วนตัวของกิ้งกือสู่นวัตกรรมSafety helmet
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปราชญ์ธนบดี คนไว, ณัฏฐณิชา วิจิตตปัญญารักษ์, นงนภัส ลาวเมือง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉวีวรรณ อ้นโสภา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงาน เรื่องการศึกษาการม้วนตัวของกิ้งกือสู่ นวัตกรรม safety helmet
กิ้งกือเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทยและกิ้งกือทั้งหมดมีลักษณะเด่นอยู่ 1 อย่างที่ชัดเจนคือ การหดม้วนตัวเมื่อเจอกับสิ่งเร้า ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้สนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการขดม้วนตัวของกิ้งกือว่าการที่กิ้งกือหดม้วนตัวเกิดจากเหตุผลอะไร โดยการมีการทดลองทั้งหมด 5 อย่าง
-การทดลองที่ 1 ทดลองเพื่อการศึกษาและทดสอบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างในส่วนต่างๆของกิ้งกือ โดยการใช้สิ่งของและจุดที่สัมผัสตัวกิ้งกือที่แตกต่างกัน
-การทดลองที่ 2 ศึกษาการเดินของกิ้งกือบนพื้นผิวและความลาดเอียงลักษณะต่างๆ โดยการทำมุมให้วัสดุพื้นผิวต่างๆ แล้วจึงทดลองให้กิ้งกือเดินขึ้นไปจับเวลาวัดระยะทางการกระจัดที่กิ้งกือหยุดเดิน
-การทดลองที่ 3 เพื่อทดสอบหาความต่างระหว่างการขดม้วนตัว กับ ไม่ขดม้วนตัว โดยการใช้ก้อนอิฐมาวางทับสายท่อน้ำทิ้งแบบตรงและแบบขดเพื่อคำนวณหาน้ำหนักที่กดทับและยุบตัวลงไปทั้งสองแบบ การทดลองที่4 คำนวณหาปริมาตรทางคณิตศาสตร์ของกิ้งกือ
-การทดลองที่ 5 เพื่อศึกษากายภาพทั้งภายในและภายนอกของแต่ละส่วนของกิ้งกือเมื่ออยู่ในลักษณะที่ขดม้วน หรือตัวตรง โดยการนำกิ้งกือเพศผู้และเพศเมียที่มีอายุ1ปี มาผ่าดูลักษณะทางกายภาพด้วยกล้องSEM
-การทดลองที่6 เพื่อศึกษาการรับแรงของวัสดุที่มีลักษณะขดตัวคล้ายกิ้งกือว่าสามารถรับแรงได้เท่าไหร่โดยใช้ผลแตงโมเต็มลูกใส่ลงไปในหมวกกันน๊อคทั้งสองรูปแบบ นิยามเชิงปฏิบัติการคือ ผ่าน คือ แตงโมไม่แตก ไม่ผ่าน คือ แตงโมแตกมีรอยแยกชัดเจนมีน้ำแตงโมซึมออกมาโดยใช้หลักการทดสอบSnell จากทวีปยุโรปทั้ง Snell 1 และ Snell 2
โครงงานนี้เป็นโครงงานที่คิดขึ้นมาใหม่เป็นโครงงานกึ่งชีววิทยาเพราะมีการทดลองด้านต่างๆของกิ้งกือ และนำเอาแนวคิดการขดตัวของกิ้งกือมาเป็นแบบในการประดิษฐ์อุปกรณ์หมวกกันน๊อคที่สามารถรับแรงกระแทกได้