การศึกษาอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสูตรMSดัดแปลง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อกล้วยหอมเขียวค่อม[Musaceae]

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เขมลดา เลินไธสง, พัชราภรณ์ จวงจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กัลยาณี วัฒนธีรางกูร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กล้วยหอมเขียวค่อม [Musaceae] มีลักษณะใกล้เคียงกับกล้วยหอมเขียวค่อมแต่ต้นเตี้ยกว่า ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ก้านใบสีเขียวอ่อน ใบประดับสีแดงอมม่วง ผลไม่มีเหลี่ยมที่ชัดเจน ผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง รสหวานกลิ่นหอมแรง ไม่มีเมล็ด การขยายพันธุ์ด้วยใช้หน่อธรรมชาตินั้นถ้าหากใช้หน่อที่มีขนาดและอายุที่กัน เมื่อนำไปปลูกระยะของผลผลิตที่ได้จะไม่สม่ำเสมอกันนอกจากนี้โรคติดต่อที่มีอยู่ในกล้วย อย่างเช่น Fusarium oxysposum แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตายพรายในต้นกล้วย และ Pseudomonas solanacearum แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคใบเหี่ยวในกล้วยเป็นต้น เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคระบาดในกล้วยได้จากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชในสภาพปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ ภายใต้การควบคุมในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุมสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช จึงทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่ปลอดโรคจำนวนมาก ในระยะเวลาที่รวดเร็วมากกว่าการขยายพันธุ์แบบเดิม และมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นปัจจัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการทดลองมีหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพืช คือ ความสมบูรณ์ ความแข็งแรง และชิ้นส่วนชองพืชที่นำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ทั้งของชิ้นส่วนของพืช และอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม เช่น แสงและอุณหภูมิภายในห้องควบคุม ความเป็นกรด-เบสของสูตรอาหารที่พืชในแต่ละชนิดต้องการ การย้ายเลี้ยงต้นพืช และสภาพของอาหารสังเคราะห์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงต้นพืช อาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้น ต้องประกอบไปด้วย สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืช นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชที่จะช่วยชักนำราก และยอดได้ดี คือ Cytokynin และ Auxin เนื่องจากว่าเป็นสารที่มีสามารถกระตุ้นเนื้อเยื่อของพืชในเจริญเติบโตกลายไปเป็นรากหรือลำต้น ยอด ใบ และส่วนต่างๆได้

คณะผู้จัดทำจึงได้สนใจในการนำวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาทำโครงงานเรื่อง การศึกษาอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสูตรMSดัดแปลง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อกล้วยหอมเขียวค่อม[Musaceae] เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกล้วยหอมเขียวค่อมจากอาหารในแต่ละสูตร และเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ของกล้วยหอมเขียวค่อม เนื่องจากว่าเป็นกล้วยที่มีจำนวนน้อยลงจนใกล้สูญพันธุ์