การแปรรูปขยะขวดพลาสติกประเภท Polyethylene Terephthalate สี (PETสี) เพื่อแทนที่การใช้ทรายหยาบในการผลิตคอนกรีตบล็อก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภูรินทร์ นะวะสด, ธนวัฒน์ จันทสิทธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เจตนิพิฐ แท่นทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและแปรรูปขยะขวดพลาสติกประเภท Polyethylene Terephthalate สี (PETสี) เพื่อแทนที่การใช้ทรายหยาบในการผลิตคอนกรีตบล็อก เนื่องจากขยะขวดพลาสติกประเภท Polyethylene Terephthalate สี (PETสี) มีปริมาณมาก ใช้เวลาย่อยสลายนาน และรีไซเคิลได้ยาก เนื่องมาจากขวด Polyethylene Terephthalate สี (PETสี) รีไซเคิลยากกว่าแบบ Polyethylene Terephthalate (PETหรือPETใส) เพราะต้องนำไปแยกเม็ดสีมากกว่า 300,000 โทนสีก่อนการรีไซเคิล และยังอาจมีการปนเปื้อนสูง เมื่อนำมารีไซเคิลโดยบดละเอียดให้เป็นเม็ดขนาดเท่าทรายหยาบ เพื่อนำไปแทนที่ทรายหยาบในการผลิตคอนกรีตบล็อก โดยมีการกำหนดสูตรคอนกรีตบล็อกที่่มีอัตราส่วนระหว่าง ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา:ทรายหยาบ:หินฝุ่น:ขวดพลาสติกประเภท Polyethylene Terephthalate สี (PETสี) บดละเอียด เท่ากับ 1:2:2:0(สูตรควบคุม) 1:3/2:2:1/2(สูตรที่1) 1:1:2:1(สูตรที่2) 1:1/2:2:3/2 (สูตรที่3) ทั้งหมด 4 สูตร แล้วทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติ ดังนี้ 1) ค่าความต้านแรงอัด 2) เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำ 3) การดูดซึมน้ำ
ค่าความเค้น 5) ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย