การเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์แบบรวมกลุ่มที่มีผลต่อการบำบัดน้ำเสียในระบบ ฟิกซ์ฟิล์มเอสบีอาร์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรวดี ทองสุทธิ์, ธันร์ศักดิ์ บุญสมศรี, วรัญญา วรรณา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เจตนิพิฐ แท่นทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อในประเทศมีการพัฒนาไปสู่การเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นถือว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีของเสียที่เกิดขึ้น ตามมาอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะของเสียที่อยู่ในรูปแบบสารประกอบไซยาไนด์ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมี อุตสาหกรรมด้านพลังงาน อุตสาหกรรมด้านการ ผลิตเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สําคัญทั้งในยานยนต์ คอมพิวเตอร์และอื่นๆ ที่ต้องใช้เหล็ก เป็น ส่วนประกอบ อุตสาหกรรมการผลิตสี อุตสาหกรรมการผลิตไม้และเคลือบผิวไม้ อุตสาหกรรมการ ผลิตกระดาษ อุตสาหกรรมมันสําปะหลัง รวมทั้งอุตสาหกรรมเหมืองแร่ (Aronstein et al., 1994; EPA, 1997; Liu et al., 1996; Medwith and Lefelhocz, 1981; Melcer and Nutt, 1998) ซึ่ ง ของ เสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตมักอยู่ในรูปของสารประกอบไซยาไนด์ ไธโอไซยาเนต ฟีนอล และ แอมโมเนีย เป็นต้น สารประกอบไซยาไนด์อาจมีมากถึง 10-150 มิลลิกรัม/ลิตร (Liu et al., 1996; Medwith and Lefelhocz, 1981; Melcer and Nutt, 1998) ไซยาไนด์เป็นสารที่มีความเป็น พิษต่อ สิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น คน สัตว์บก และสัตว์น้ํา เป็นต้น ในธรรมชาติความเป็นพิษของไซยาไนด์จะ ขึ้นอยู่ กับระดับความเข้มข้นในน้ํา และความเป็นพิษอาจมากขึ้นหากไซยาไนด์ทําปฏิกิริยากับโลหะ หนัก เช่น ทองแดง นิกเกิล เงิน สังกะสี เหล็ก กลายเป็นโลหะไซยาไนด์ Cu(CN)2 - Ni(CN)4 2- Ag(CN)2 - Zn(CN)4 2- Fe(CN)6 4- ตามลําดับ ซึ่งสารประกอบเชิงซ้อนเหล่านี้สามารถแตกตัวได้ มากน้อยต่างกัน ส่งผลทําให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมขึ้นได้ และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย อีกด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากไซยาไนด์มีองค์ประกอบหลักที่จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถใช้ไซยาไนด์เป็นแหล่งของ คาร์บอนและ/หรือไนโตรเจนเพื่อการเจริญเติบโตได้ ดังนั้นการกําจัดไซยาไนด์ที่เกิดขึ้นจาก อุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ําเสียอุตสาหกรรม ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในระบบบําบัด น้ําเสียจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งที่ต้องเร่งพัฒนาเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการกําจัดสารมลพิษต่อไป