การพัฒนาคอนกรีตบล็อกเชิงตันที่มีความสามารถในการเป็นฉนวนกันความร้อน และดูดซับตะกั่วโดยมีผักตบชวาเป็นวัสดุผสม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนัญชิดา เกตุนันท์, จิรัชญา สิงห์สำราญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฏฐพัชร์ เพ็ชรศรีกุล, พงศกร พงค์คำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันการสร้างบ้านเรือนได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศในเมืองไทย และเมื่อต่างยุคต่างสมัยบ้านเรือนก็ต้องเปลี่ยนไป แบบบ้านทรงไทยแบบเดิมๆ ที่โล่งโปร่งสบาย ลมโกรกผ่านในสมัยก่อนก็อาจจะไม่เหมาะกับสภาพอากาศ ที่มีมลพิษในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง การสร้างบ้านเรือนให้ได้รูปแบบตามความต้องการและ ตอบโจทย์กับสภาพอากาศต้องแลกมากับงบประมาณการสร้างที่มากขึ้น เพื่อให้ได้วัสดุก่อสร้างที่มีความสวยงามและเหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทย โครงงานเล่มนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาคอนกรีตบล็อกที่มีความสามารถในการเป็นฉนวนกันความร้อนและสามารถดูดซับตะกั่วที่เป็นโลหะหนักอันก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติซึ่งได้แก่ ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชต่างถิ่นที่แพร่ระบาดรุกราน ส่งผลให้เกิดขยะอินทรีย์สร้างปัญหามลพิษทางน้ํา เพื่อเป็นการกำจัดอย่างมีคุณประโยชน์สูงสุดด้วยเหตุนี้จึงนำผักตบชวาเข้ามาเป็นวัสดุผสม ผลิตขึ้นรูปคอนกรีตบล็อกตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.58-2560 โดยทำการหล่อคอนกรีตบล็อกรูปทรงลูกบาศก์ทั้งหมด 5 สูตรและกำหนดให้ส่วนผสมต้นแบบคือ ปูน : ทราย : หิน 1 : 3 : 5 โดยน้ำหนัก และทำการอัดขึ้นรูปขนาด 15 x 15 x 15 เซนติเมตร เพื่อเปรียบเทียบหาสูตรที่ดีที่สุด โดยสูตรที่ดีที่สุดมีค่าความต้านแรงอัด 4.04 เมกะพาสคัล จากนั้นนำไปผลิตขึ้นรูปทรงจริงขนาด 70 x 190 x 390 มิลลิเมตร และทําการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติการนําความร้อน และความสามารถในการดูดซับตะกั่ว กับคอนกรีตบล็อกที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปอีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านของคุณภาพและราคา