เครื่องแยกขวดอัตโนมัติ โดย IPST-Microbox (SE)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อนุชา ชอบจิต, ดารินทร์ นันต๊ะ, สุนิตสา สุขสมบัติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จามจุรี พรหมเผ่า, ณัฐพงศ์ วงศ์ชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันนี้ขยะประเภทขวดมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นพลาสติก แก้ว โลหะ ฯลฯ ทำให้เกิดปัญหาขยะที่มีมากเกินไปและเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสาเหตุหลักของปัญหานี้คือการแยกขยะไม่ถูกวิธีของผู้บริโภค ดังนั้นผู้พัฒนาจึงสนใจที่จะศึกษาและประดิษฐ์“เครื่องแยกขวดอัตโนมัติโดย IPST-Microbox(SE)”หรือชุดกล่องสมองกลเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเครื่องแยกขวดอัตโนมัติโดย IPST-Microbox (SE) จะใช้อุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) ควบคุมการทำงานและใช้งานร่วมกับเซนเซอร์จาก IPST-Microbox (SE)

จากการศึกษาทดลองพบว่าเซนเซอร์ที่สามารถใช้แยกประเภทขวดได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ เซนเซอร์อินฟราเรด ซึ่งผู้พัฒนาได้ประยุกต์ใช้แผงวงจรกำเนิดแสงอินฟราเรดกับแผงวงจรตรวจจับแสงอินฟราเรดโดยใช้โฟโต้ทรานซิสเตอร์ประยุกต์ใช้เป็นเซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดแสง และแผงวงจรสวิทซ์ ใช้เป็นเซนเซอร์วัดน้ำหนัก ซึ่งสามารถแยกขวดได้ทั้งหมด 4 ประเภท คือ ขวดพลาสติกใส ขวดพลาสติกขุ่น ขวดแก้ว และกระป๋อง หลังจากการศึกษาหาประสิทธิภาพของเซนเซอร์แล้วผู้พัฒนาได้ออกแบบสร้างเครื่อง“เครื่องแยกขวดอัตโนมัติโดย IPST-Microbox (SE)”ขึ้น หลักการทำงานของเครื่องแยกขวดอัตโนมัติโดย IPST-Microbox (SE) คือ เมื่อนำขวดแต่ละประเภทใส่ลงในเครื่องแยก ขวดจะหล่นลงมายังจุดตรวจวัดเซนเซอร์ ซึ่งในส่วนเซนเซอร์จะประกอบไปด้วยเซนเซอร์อินฟราเรดและเซนเซอร์วัดน้ำหนัก เมื่อขวดไปกระทบกับสวิตซ์ของเซนเซอร์วัดน้ำหนักหากขวดนั้นมีน้ำหนักมากจะทำให้สวิตซ์ทำงานและโปรแกรมรับค่าสั่งให้ถาดหมุนไปหยุดที่ช่องของขวดแก้วเมื่อโปรแกรมสั่งปล่อยขวดขวดก็จะตกลงไปในช่องสำหรับขวดแก้วแต่ถ้าหากขวดมีน้ำหนักเบาก็จะถูกตรวจเช็คอีกครั้งด้วยเซนเซอร์อินฟราเรด ซึ่งจะใช้แยกขวดประเภทพลาสติก หรือกระป๋อง เมื่อเซนเซอร์ตรวจวัดแยกขวดจากหลักความโปร่งแสงแล้ว ขวดก็จะตกลงไปในช่องสำหรับขวดประเภทนั้นๆโดยที่เครื่องจะทำการแยกขวดทีละขวด

จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือ พบว่าสามารถใช้ได้จริงและอยู่ในระดับที่ดีสามารถแยกขวดแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือนำไปปรับปรุงเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการแยกขยะแต่ละชนิดต่อไป