การศึกษาน้ำหมักชีวภาพจากกระดาษเหลือใช้ที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปลื้มปราชญ์ ด่างดี, กฤษตเมธ เงินมั่น, ภูมิรวิชญ์ เหล่ามะลอ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เดชาธร บงค์บุตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตามขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีสัดส่วนองค์ประกอบที่สามารถนํามาใช้ประโยช์ใหม่ได้ในอัตราที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น โดยสามารถนำขยะจำพวก พลาสติก แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียม มารีไซเคิลได้ ร้อยละ 30 - 35 และนําขยะอินทรีย์หรือขยะที่สามารถย่อยสลายได้มาหมักทําปุ๋ยได้ร้อยละ 45 - 50 แต่ปัจจุบันอัตราการนําขยะกลับมาใช้ประโยช์ใหม่ มีเพียงร้อยละ 22 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำมาก ทางผู้จัดทำจึงเห็นว่าควรจะนำขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกนำมาใช้มาใช้ประโยชน์ มาทำให้เกิดประโยชน์โดยการนำมาทำเป็นน้ำหมัก ซึ่งขยะที่จะทำเป็นน้ำหมักก็คือ ขยะจำพวกกระดาษ
โดยนำกระดาษไปผสมกับ สารเร่งจุลินทรีย์ แล้วหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่ง เศษขยะนั้นเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นน้ำหมักที่มีลักษณะเป็นน้ำสีน้ำตาลปนดำ นำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ ประดับได้ นอกจากนั้นก็สามารถนำไปกำจัดวัชพืช หรือบำบัดน้ำได้อีกด้วย แต่ในโครงงานนั้ผู้จัดทำจะน้ำหมักชีวภาพจากกระดาษมาทดสอบประสิทธิภาพในการทำให้เมล็ดข้าวงอกแตกรากออกมา โดยการนำข้าวเปลือกมาแช่กับน้ำหมักชีวภาพจากกระดาษเหลือใช้ ที่ผู้จัดทำสร้างขึ้น