การศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกันความชื้นและความแข็งแรงของไม้อัดจากเยื่อผักตบชวา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัชชัยภูเมศ รฐารุ่งชัยโชคนิธิ, พิพัฒน์พงศ์ เหล่าวิวัฒน์, ณภัทร เรืองพงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิติ ไชยวงคต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึงแผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวาง ในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จำนวนชั้นของแผ่นไม้จะต้องเป็นจำนวนคี่เสมอไป เพื่อให้เกิดความสมดุลและแนวเสี้ยนไปในทางเดียวกัน ซึ่งจะมีจำนวนตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป นำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย(บริษัท พังงา ทิมเบอร์ อินดัสทรีส์ จำกัด,2550)

ในปัจจุบันไม้อัดเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาถูก น้ำหนักเบา และหาซื้อได้ง่าย แต่มักเกิดการบวมปริเมื่อโดนน้ำหรือความชื้น ส่งผลให้คุณภาพของไม้อัดลดลงทำให้เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องมือต่างๆที่ทำจากไม้อัดมีอายุการใช้งานที่สั้น ดังนั้นจึงมีการหาวิธีการป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าไปในเนื้อไม้อัดหนึ่งวิธีนั้นก็คือการทาน้ำยาเคลือบไม้ แต่วิธีนี้ยังพบจุดบกพร่องคือ เมื่อน้ำยาเคลือบไม้หลุดลอกออกไป หากไม่มีการทาใหม่ก็จะเกิดปัญหาอีก และค่าใช้จ่ายในการทาแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง

ด้วยปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาเพื่อยืดอายุการใช้งานของวัสดุไม้อัด พบว่าผักตบชวา วัชพืชที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย เมื่อนำผักตบชวามาตากแห้ง ใช้กาวและเรซินซึ่งเป็นยางธรรมชาติ ที่สามารถกันความชื้นได้มาเป็นตัวยึดตรึงเยื่อผักตบชวา จากนั้นนำเยื่อผักตบชวาเข้าเครื่องอัดร้อน วางตากลมให้แห้ง แล้วเคลือบด้วยอีพ๊อกซี่เรซซินก็จะได้ไม้อัดจากเยื่อผักตบชวาออกมาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกันความชื้น ความแข็งแรงกับแผ่นไม้อัดในท้องตลาด เป็นการเพิ่มมูลค่าผักตบชวาที่มีอย่างมากมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด