การศึกษาคุณสมบัติการเป็นพืชบําบัดสารหนูในดินของเฟิร์นกูดหมากเเละเฟิร์นท้องใบเงิน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกรัตน์ มะโนรัตน์, จุฑามาศ ไชยปัญญา, ปริมฐิตา สมัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เจตนิพิฐ แท่นทอง, นวรัตน์ โสตศิริ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติการเป็นพืชบำบัดสารหนูในดินของเฟิร์นกูดหมากและเฟิร์นเงิน โดยทำการปลูกเฟิร์นกูดหมากและเฟิร์นเงินในดินที่มีการปนเปื้อนของสารหนูชนิดอาร์เซไนต์ [As(III)] เเละอาร์เซเนต [As(V)] ซึ่งจะปลูกเป็นระยะเวลา 15 30 45 และ 60 จากนั้นทำการเก็บตัวอย่างดินและเฟิร์นทั้ง 2 ชนิด เพื่อนำมาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเฟิร์นกูดหมากเเละเฟิร์นเงิน ผลกระทบต่อการสะสมสารหนูอนินทรีย์ชนิดอาร์เซไนต์ [As(III)] เเละอาร์เซเนต [As(V)] ของเฟิร์นกูดหมากเเละเฟิร์นเงิน ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดสะสมปริมาณสารหนูทั้งหมดของเฟิร์นกูดหมากเเละเฟิร์นเงิน และคุณสมบัติด้านการเคลื่อนย้ายสารหนูขึ้นสู่ส่วนเหนือดินของเฟิร์นกูดหมากเเละเฟิร์นเงิน