การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Escherichia coli ของอนุภาคคาร์บอนนาโนดอท จากหอมหัวใหญ่ผสมมะนาว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทรัตน์ วังช่วย, เนตรนภา จันทร์หล้า
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทองเพียร สิงห์ชัย, วราภรณ์ แบ่งดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ E. coli ของอนุภาคคาร์บอนนาโนดอทจากหอมหัวใหญ่ผสมมะนาว ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนนาโนดอทจากหอมหัวใหญ่ผสมมะนาว และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ E. coli ของอนุภาคคาร์บอนนาโนดอทที่สกัดได้ โดยมีวิธีดำเนินงาน 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนนาโนดอทจากหอมหัวใหญ่ผสมมะนาว โดยใช้กระบวนการไพโรไลซีส (Pyrolysis) ภายใต้ระบบปิดที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และใช้อัตราส่วนระหว่างหอมหัวใหญ่ : น้ำมะนาว : น้ำกลั่น : สารละลายแอมโมเนีย เท่ากับ 2:20:8:30 มิลลิลิตร นำสารละลายที่สังเคราะห์ได้ไปตรวจคุณสมบัติด้านการเปล่งแสงภายใต้หลอดยูวี ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ E. coli ของอนุภาคคาร์บอนนาโนดอท โดยวิธี Disc diffusion บ่มไว้ให้ครบ 48 ชั่วโมง ผลการศึกษา พบว่า สารที่สังเคราะห์ได้มีการเรืองแสงสีเขียวภายใต้หลอดยูวี และเมื่อนำไปศึกษาการยับยั้งเชื้อ E. coli วัดค่า Inhibition zone เฉลี่ยเท่ากับ 5.33 มิลลิเมตร แสดงให้เห็นว่าสารผสมระหว่างหอมหัวใหญ่กับมะนาวสามารถสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนนาโนดอทได้ และอนุภาคคาร์บอนนาโนดอท ที่สังเคราะห์ได้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli