โครงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการยับยั้งแคปไซซินในพริกไทยต่างชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ Escherichia coli กับเคซีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ลักษมี พันธุ์สง่า, ธรณินทร์ รานอก

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วิภาวี ศรีหานนท์, อรทัย ล่ำสัน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาค “อีสาน” ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดึงดูดให้ ชาวต่างชาติให้เข้ามาที่ประเทศไทยด้วยความที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะวัฒนธรรมในด้าน อาหารที่มีรสชาติจัดจ้านไม่เหมือนใคร ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะทนกับรสชาติจัดจ้านเหล่านั้นได้โดยเฉพาะ ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาท่องเที่ยวหรือทำงานในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่นั้นค่อนข้างไว รสเผ็ดร้อนจากอาหารอีสานหลายๆ มีทั้งกลุ่มคนที่ชื่นชอบและกลุ่มคนที่รับความเผ็ดนั้นไม่ไหวเป็นจํานวนมาก เพราะนอกจากรสชาติเหล่านั้นจะส่งผลตอนที่เรารับประทานแล้วมันยังคงไว้หลังจากรับประทานอีกด้วย ซึ่งวัตถุดิบที่ส่งผลให้เกิดรสชาติเหล่านั้นมาจากแคปไชซินที่อยู่ในพริก แคปไซซิน (capsaicin) เป็นสารประกอบ ฟีนอลิก (phenolic compound) ที่พบตามธรรมชาติใน พริก ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่า “รก” (placenta) ส่วนของเนื้อผล และเมล็ดจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก ผลของพริก เป็นสารสำคัญที่ทําให้พริกมีรสเผ็ด นอกจากจะส่งผลในช่องปากแล้วยังส่งผลต่อผิวหนังเมื่อเราสัมผัสอีกด้วย หากเราสัมผัสเข้ามากๆก็จะ เกิดอาการปวดแสบบปวดร้อนและทรมานไปสักพักใหญ่ๆเลยทีเดียว พวกเราจึงต้องการที่จะวิจัย ผลิตภัณฑ์ที่สามารถบรรเทาอาการแสบร้อนเหล่านี้ลงได้และได้ทำการศึกษาจนรู้ว่ามีโปรตีนตัวหนึ่งที่ เรียกว่า “เคซีน” ในนม ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผงซักฟอก ขจัดสารแคปไซซินต้นตอของความเผ็ด จึงสามารถยับยั้งความเผ็ดร้อนได้ โดยเคซีน เป็นโปรตีน (protein) ชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) ที่พบในน้ำนม (milk) มีประมาณร้อยละ ๘๐ ของโปรตีนทั้งหมดในน้ำนม ดังนั้นเราจึงเริ่มศึกษาจากการนำแคปไซซินและเคซีนมาวัดค่าความเข้มข้นด้วยเครื่อง HPLC เพื่อ มาเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นของแคปไซซินและเคซีน ระหว่างก่อนและหลังทําปฏิกิริยากับเคนเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าเคซีนส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อแคปไซซิน และอีกการทดสอบคือการทดสอบ คุณสมบัติของแคปในระหว่างก่อนและหลังปฏิกิริยากับเคซีนด้วยจุลินทรีย์ เนื่องจากว่าแคปไซซิน นั้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตต่อจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า Escherichia col เรา จุลินทรีย์ชนิดนี้มา เป็นส่วนหนึ่งในการศีกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ในการทำงานของแคปไซซินระหว่างก่อนและหลังปฏิกิริยากับเคซีน