NEC ถุงเพาะชำจากขุยมะพร้าวเเละผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาณิศา ชัยจินดา, สุจิตรา ช่างบุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นารีรัก เหยียดกระโทก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พลาสติกนิยมนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายในปัจจุบัน แต่มีข้อจำกัดคือ ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปี (สำนักงานสิ่งเเวดล้อมเเละควบคุมมลพิษที่ 10, 2564)และหนึ่งในวิธีการกำจัดพลาสติก คือ การเผา ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซพิษ และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หรือเรียกอีกอย่างว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ถุงเพาะชำที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก เมื่อนำต้นกล้าลงดินพลาสติกดังกล่าวไม่สามารถย่อยสลายและกลับมาเป็นขยะ อีกทั้งหากฉีกถุงพลาสติกก่อนลงดินจะส่งผลให้ต้นกล้าไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเท่าที่ควร คณะผู้วิจัยจึงสนใจในการพัฒนาถุงเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
ผักตบชวาเป็นพืชที่พบอย่างแพร่หลายในชุมชน ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศทางน้ำ และขุยมะพร้าวที่มีคุณสมบัติสามารถอุ้มน้ำได้ดี คณะผู้วิจัยจึงสนใจเลือกใช้วัสดุดังกล่าวมาขึ้นรูปเป็นถุงเพาะชำ และเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกจากถุงเพาะชำพลาสติกกับถุงเพาะชำจากขุยมะพร้าวและผักตบชวา