การพัฒนาประสิทธิภาพจากกระดาษ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นราวิชญ์ เก้าแสง, ภัคจิรา หินน้อย, รินรดา ไอยรา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จักรพันธ์ อุดทะดาดวง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการพัฒนาประสิทธิภาพของกระดาษจากวัชพืช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประดิษฐ์กระดาษจากวัชพืชที่มีในท้องถิ่น เพื่อให้ได้กระดาษที่มีคุณสมบัติที่สามารถทนต่อการติดไฟ มีความความเหนียว ทนต่อการเปื่อยยุ่ย และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระดาษที่ประดิษฐ์กับกระดาษทั่วไป
ซึ่งการทดสอบประสิทธิภาพของกระดาษพบว่า กระดาษจากวัชพืชทั้ง 3 มีประสิทธิภาพในด้านที่ต่างกัน จากการทดลองที่ 1 ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการทนต่อการจุดติดไฟ พบว่ากระดาษจากหญ้าขจรจบมีคุณสมบัติในด้านของการทนต่อการจุดติดไฟมากที่สุด โดยอัตราเร็วในการเผาไหม้ของกระดาษจากหญ้าขจรจบจะช้าที่สุด และดีกว่ากระดาษ A4 80 แกรมทั่วไปเฉลี่ย 3.06 เท่า ในการทดลองที่ 2 ซึ่งเป็นการทดลองในแง่ของความเหนียวของกระดาษ พบว่าหญ้าคาสามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุด ซึ่งดีกว่ากระดาษ A4 80 แกรมทั่วไปเฉลี่ย 1.01 เท่า ในการทดลองที่ 3 ซึ่งเป็นการทดลองทางด้านการดูดซับน้ำ พบว่าหญ้าคาสามารถดูดซับน้ำได้ช้าที่สุด ซึ่งดีกว่ากระดาษ A4 80 แกรมทั่วไปเฉลี่ย 0.82 เท่า
เราอาจกล่าวได้ว่าโครงงานชิ้นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งในอนาคตเราอาจมีการนำคุณสมบัติต่าง ๆ มาปรับใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น การทำวอลเปเปอร์เพื่อประดับตกแต่งผนัง นำไปทำอิฐโดยใช้ความเหนียวของเส้นใยเพื่อความทนทาน และป้องการเกิดอัคคีภัย ตลอดจนศึกษาเส้นใยเพื่อลดต้นทุนในการทำทำเสื้อเกราะกันกระสุนได้ เป็นต้น