การศึกษาอิทธิพลของลักษณะพื้นผิวที่มีผลต่อพฤติกรรมการเคลื่อนที่ และปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดเพลี้ยอ่อนถั่ว เพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนากับดักกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่ว และลดความเสียหายจากการทำลายผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวอย่างยั่งยืน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณตะวัน วัฒนวงศ์ชัย, ภัทราภรณ์ หวังสิทธิเดช

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ขุนทอง คล้ายทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เพลี้ยอ่อนเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำลายผลผลิตของเกษตรกร เหตุผลหนึ่งที่ส่งผลให้เพลี้ยอ่อนเป็นปัญหาที่สำคัญของพืชผลผลิต คือความสามารถในการแพร่ระบาด โดยเพลี้ยอ่อนสามารถย้ายที่อยู่ได้เองโดยการเดินไปยังพืชอาศัยใหม่ ซึ่งรวมกับความสามารถความสามารถในการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วด้วยแล้วนั้นส่งผลให้เพลี้ยอ่อนเป็นปัญหาต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก โครงงานนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมในการเคลื่อนที่ของเพลี้ยอ่อน โดยพบว่าเพลี้ยอ่อนมีพฤติกรรมการเคลื่อนที่ทั้งแนวราบและแนวดิ่งแบบเคลื่อนที่ตรงไปข้างหน้ามากที่สุด ในการเคลื่อนที่แบบทรงกระบอกของเพลี้ยอ่อนพบว่าเพลี้ยเคลื่อนที่ช้าที่สุดที่ทรงกระบอกหน้านูนแนวขวาง และเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดที่ทรงกระบอกหน้านูนแนวสูง จากนั้นศึกษารูปทรงของกับดัก โดยพบว่ากรวยมีประสิทธิภาพในการทำให้เพลี้ยอ่อนเข้ากับดัก 76% ต่อมาทำการศึกษาชนิดของผลถั่วที่มีความเหมาะสมในการดึงดูดเพลี้ยอ่อนถั่วมากที่สุด โดยศึกษาจากถั่ว 4 ชนิด ได้แก่ ถั่วงอก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และถั่วพู โดยพบว่าถั่วงอกเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมในการวางกับดัก คือ 80 เซนติเมตร จากนั้นศึกษาระยะเวลาในการใช้งาน สุดท้ายศึกษาประสิทธิภาพของกับดักโดยศึกษาประสิทธิภาพในการขังพบว่าสามาขังเพลี้ยอ่อนได้คิดเป็น 68% และประสิทธิภาพในการดักจับเพลี้ยอ่อนของกับดักทั้งที่แจ้ง และที่ปิด