การลดค่าความหนืดของน้ำมันพืชที่ใช้แล้วโดยใช้เอนไซม์ไลเปสจากเมล็ดยางพาราเพื่อนำไปผลิตแอลกอฮอล์แข็ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สิญาภรณ์ สุพลเเสง, ฐานิดา เสนา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุกัญญา กึ่งกลาง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

  1. ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นยุคที่มีความเจริญต่างๆ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆทั้งในด้านพลังงาน การถ่ายเทมวลสาร นอกจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เราจะได้รับ เรายังได้ผลิตของเสีย ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้รับความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการ “น้ำมันใช้แล้ว” (Waste Cooking Oil) อย่างถูกวิธี

น้ำมันใช้แล้วเป็นน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนจากกระบวนการประกอบอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจานทอดทั้งหลาย (Deep fry) สำหรับประเทศไทยแล้วน้ำมันใช้แล้วส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันปาล์ม (90%) เนื่องจากคุณสมบัติที่เหมาะสมในการทอดอาหาร และราคาถูก (สำนักข่าว สสส., 2555) คุณสมบัติของน้ำมันใช้แล้วประกอบไปด้วยไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) แต่มีคุณภาพต่ำเนื่องจากผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่สูงและปนเปื้อนน้ำและเศษอาหาร โดยเฉพาะ ค่าความเป็นกรดที่สูง (Acid value) จากการสลายตัวของไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นกรดไขมันอิสระ (Free fatty acid) จากกระบวนการสลายตัวด้วยน้ำ (Hydrolysis) หากจะกำจัดน้ำมันพืชที่ใช้แล้วโดยการเทลงท่อละบายน้ำก็จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อละบายน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น และยังส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง ดังนั้นผู้จัดทำจึงนำการประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปสจากเมล็ดยางพาราเพื่อปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันที่ใช้แล้ว พบว่าในองค์ประกอบของเมล็ดยางพาราในส่วนที่เป็นน้ำมันจะมีเอนไซม์กลุ่มไลเปสที่สามารถสลายไขมันและน้ำมัน เพื่อที่จะผลิตกรดไขมันและกลีเซอรอล จากข้อมูลดังกล่าว ผู้จัดทำจึงเกิดแนวคิดที่จะสกัดเอาเอนไซม์ไลเปสจากน้ำมันเมล็ดยางพารามาลดความหนืดในน้ำมันพืชที่ใช้แล้วก่อนนำไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ก้อน

  1. วัตถุประสงค์

  • เพื่อสกัดเอนไซม์ไลเปสจากเมล็ดยางพารา

  • เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของเอนไซม์ไลเปสที่ความเข้มข้นแตกต่างกันต่อค่าความหนืดโดยการใช้เอนไซม์ไลเปสในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว

  • เพื่อผลิตแอลกอฮอล์แข็งจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้วที่ผ่านการปรับปรุงค่าความหนืดจากเอนไซม์ไลเปสที่สกัดจากเมล็ดยางพารา

3.สารเคมี

  1. ฟอสเฟตบัฟเฟอร์

  1. โซเดียมไฮดอกไซด์

  2. เอทิลแอลกอฮอล์

  3. กรดสเตียริก

  4. บรอมไทมอลบลู (Bromthymol blue)

โครงงานนี้ยังอยู่ในช่วงการทดลอง