ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียSalmonella
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปฐมาวดี สุขประเสริฐ, รัตน์ชนก วะราโภ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญญพร พัฒน์เจริญ, อำนวยพร ศรีสวัสดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาครั้งนี้ จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ด้วยวิธี disc diffusion (2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียSalmonella
ในการทดลองนี้คณะผู้จัดทำจึงแบ่งขั้นตอนการทดลองเป็น 2 การทดลอง (1) เลือกใช้พืชตัวอย่าง เป็นกลุ่มพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน 4 ชนิด ได้แก่กระเทียมจีน กระเทียมโทน หอมแดง หอมหัวใหญ่สีแดง เพื่อนำมาสกัดเป็นสารสกัดหยาบ โดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย และทำการกรองกากของพืชออก นำกระดาษกรองที่เจาะเป็นวงกลมมาชุบสารสกัดหยาบ โดยเริ่มต้นจาก อัตราส่วนการเจือจางเป็น 1:1 วางกระดาษกรองที่ชุบสารสกัดหยาบลงบนจานเพาะเชื้อที่ทำการ spread เชื้อ แล้วเปรียบเทียบกับกระดาษกรองที่ไม่ได้ชุบสารสกัด โดยแต่ละตัวอย่างพืชจะทำการทดลองทั้งหมด 5 ซ้ำ และบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 24 ชม. จากนั้นสังเกตผลในการทดลอง จึงทราบว่าพืชสมุนไพรตัวอย่างมีทั้งหมด 2 ชนิด ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ได้ดี ณ ช่วงเวลาการบ่มที่ 24 ชม.ในอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กระเทียมจีน และ กระเทียมโทน (2) จากผลการทดลองดังกล่าว จึงทำการนำพืชสมุนไพรทั้ง 2 ตัว มาศึกษาต่อโดยเพิ่มอัตราการเจือจางของสารสกัดหยาบเป็น 1:4 , 1:5 และ 1:6 แต่ยังใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลายเช่นเดิม นำกระดาษกรองชุบสารสกัดหยาบ จากนั้นวางลงบนจานเพาะเชื้อโดยทำการทดลอง 5 ซํ้า บ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชม. สังเกตผลการทดลอง วัดค่าเคลียร์โซนของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด เพื่อดูชนิดของพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนต่อความเข้มข้นใดว่ามีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ได้ดีที่สุด