เครื่องแปรสภาพขยะอินทรีย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภากร เจริญทิพากร, ภาคิน สุวรรณอินทร์, กษิดิศ ศรีทวี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เจษฎา ประวาลปัทม์กุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนแสงทองวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องเครื่องแปรสภาพขยะอินทรีย์ จัดทำขึ้นเพื่อลดระยะเวลา และงบประมาณ และ

พื้นที่ที่ใช้ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ โดยปัญหาเรื่องขยะนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใกล้ตัวอย่างมาก

เช่นภายในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และร้านอาหารจะมีเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคหรือจำหน่าย จำนวนมาก

ส่งผมให้เกิดขยะจำนวนมากและทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิด

ในการหาวิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลเหล่านี้เพื่อไม่ให้เป็นมลพิษต่อสังคมโดยเริ่มจากเรื่องปัญหาขยะภายในชุมชน

ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายในแต่ละวันซึ่งส่วนมากคือขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ 64 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ

ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนที่มากพอสมควร และมากพอที่จะ ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจำนวนมาก

เช่นกลิ่นและเป็นแหล่งเชื้อโรคหากไม่รีบนำไปย่อยสลาย โดยส่วนมากการย่อยสลายขยะอินทรีย์โดยปกติคือการฝังกลบ

ซึ่งเป็นวิถีที่ใช้เวลาค่อนข้างนานและเปลืองเนื้อที่แต่ถ้าหากเราใช้การย่อยสลายโดยจุลินทรีภายในอากาศ

จะใช้เวลาลดน้อยลงอย่างมากและใช้พื้นที่ในการฝังกลบน้อยลง

จากการทดลองเรื่องระยะเวลาที่ใช้โดยเทียบกับการฝังกลบโดยการฝังพบว่าการฝังกลบเกิดการย่อยสลายที่ช้ามาก

หากไม่มีตัวกลางเช่น ไส้เดือน แต่การย่อยสลายโดยใช้เครื่องแปรสภาพขยะอินทรีย์ใช้เวลา 2 วัน

จากขยะประมาณ 1.5 ลิตร เท่ากัน โดยสรุปผลการทดลองว่าการย่อยสลายโดยใช้เครื่องจะเกิดการย่อยสลายที่เร็วกว่าเพราะมี

จุลินทรีในออกซิเจน ช่วยในการเร่งให้เกิดการย่อยสลายที่เร็วขึ้น

จากการหาข้อมูลพบว่าวัสดุอินทรีย์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วัสดุที่ย่อยสลายง่าย กับ วัสดุที่ย่อยสลายยาก

โดยใช้ค่าสัดส่วนที่เป็นองค์ประกอบหลักในวัสดุเป็นเกณฑ์ คือสัดส่วนของคาร์บอนกับไนโตรเจน หรือ C/N ratio

ถ้าเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่าย เป็นวัสดุประเภทที่มี สัดส่วนต่ำกว่า 100:1 และวัสดุที่ย่อยสลายยาก เป็นวัสดุประเภทที่มีสัดส่วนสูงกว่า 100:1

จากการทดลองพบว่าความชื้นมีส่วนในการลดระยะเวลาย่อยสลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลาย

ให้ดีขึ้นควรมีค่าความชื้นให้อยู่ใน 40%-70 % ของน้ำหนักส่วนผสม เพราะ ถ้าความชื้นต่ำกว่า 40% การย่อยสลายจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ

เนื่องมาจากจุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป จะทำให้ส่วนผสมแฉะเกินไปและมีกลิ่นเหม็นจากการหาข้อมูล