รถทำมันสำปะหลังสำหรับเกษตรกรรายย่อย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รติพงศ์ ราชสินธ์, สหรัฐ ผาสุข, กีรติ สีอุคุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มณทิรา ยางธิสาร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
รถทำมันสำปะหลังสำหรับเกษตรกรรายย่อยจัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังก้าวเข้าสู่
สังคมผู้อายุ จากการสังเกตเกษตรกรรายย่อยที่ทำสวนมันสำปะหลังในจังหวัดนครพนมพบว่ากลุ่มคนที่ทำงานในไร่มันสำปะหลังจะมีอายุในช่วง 40-60 ปี ซึ่งการทำไร่มันสำปะหลังนั้นมีหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอน เช่น เตรียมดิน 2 ครั้ง เก็บเศษไม้ออกจากดิน แล้วไถยกร่อง เดินตัดต้นพันธ์ เก็บต้นพันธ์ แบกออกจากสวน ตัดต้นเพื่อทำเป็นท่อนพันธ์ เดินแบกท่อนพันธ์ขณะปลูก ถอนหญ้า ถอนหัวมันสด เก็บหัวมันสด และขนหัวมันออกจากสวน เพื่อนำไปขาย ทุกขั้นตอนต้องออกแรงกายอย่างมาก ทำให้เกษตรกรที่มีอายุมากร่ายกายไม่แข็งแรงมีการเจ็บป่วย ทำให้ต้องจ้างแรงงานจำนวนมากส่งผลให้ต้องเพิ่มต้นทุนการทำไร่มันสำปะหลัง ประกอบกับราคามันสำปะหลังตกต่ำยิ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยขาดทุนและเจ็บป่วย ทำให้มีผู้ผลิตเครื่องทุ่นแรงสำหรับการทำไร่มันสำปะหลังจำหน่าย มีทั้งเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ต้องพ่วงกับรถไถขนาดใหญ่ แต่ใช้งานได้เพียงบางขั้นตอนของการทำไร่มันสำปะหลังเท่านั้น และมีราคาสูง ไม่คุ้มกับรายได้ของการทำไร่มันปะหลังของเกษตรกรรายย่อย ส่วนอุปกรณ์ขนาดเล็กไม่ต้องพ่วงรถไถชาวสวนไม่นิยมเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงเกษตรกรได้น้อยและใช้งานไม่สะดวก
รถทำมันสำปะหลังสำหรับเกษตรกรรายย่อยได้ออกแบบมาให้สามารถทำงานได้ 4 ขั้นตอนของ
การทำไร่มันสำปะหลัง โดยให้มีระบบการทำงานได้ 4 ระบบ ในคันเดียวกันที่สามารถถอดประกอบได้ง่าย พร้อมทำการทดสอบประสิทธิภาพได้ผลการทดสอบดังนี้
1)ระบบรถเข็นสำหรับทำสวนมันสำปะหลังให้สามารถยกมวลเฉลี่ยได้มากกว่าคนแบกถึง 1.9 เท่า
2)ระบบถอนหัวมันสำปะหลังสดสามารถถอนโดยออกแรงน้อยกว่าเหล็กถอนตามท้องตลาดทั่วไปถึง 1.2 เท่า ถอนได้เร็วกว่า 2 เท่า สามารถทดแทนแรงคนได้ถึง 1.7 เท่า
3)ระบบตัดเก็บต้นมันสำปะหลังพร้อมนำออกจากสวนสามารถทดแทนแรงคนได้ถึง 1.4 เท่า และทำงานได้เร็วกว่า 1.4 เท่า
4)ระบบตัดท่อนพันธ์สำหรับปลูกสามารถตัดท่อนพันธ์ได้เร็วกว่าเลื่อยและมีดสับ 13.8 และ 3.5 เท่าตามลำดับ สามารถทดแทนแรงงานคนได้ 2.3 เท่า
ดังนั้นรถทำมันสำปะหลังสำหรับเกษตรกรรายย่อยทำให้เกษตรออกแรงน้อยในการทำไร่มันสำปะหลังลดการเจ็บป่วยจากการออกแรงทำงานหนัก และทดแทนการจ้างแรงงานเฉลี่ยใน 4 ขั้นตอนได้ 1.8 เท่า