การดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้วัสดุดูดซับชานอ้อยที่ปรับปรุงด้วยกรดซิตริก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นภัสสร พิพัฒน์วัฒนานุกูล, ชลฎา เขียวเข้ม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อารีรัตน์ มัฐผา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่พบในน้ำเสียที่ถูกปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการกำจัดตะกั่วให้ถูกต้องและปลอดภัยโครงงานนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของชานอ้อย 2) เพื่อศึกษาการดูดซับของชานอ้อยที่ปรับปรุงด้วยกรดซิตริก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดูดซับตะกั่ว สำหรับการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยวิธีการดูดซับ(Adsorption) โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมชานอ้อย 2) การเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ของตะกั่ว 3) การทดลองหาความเข้มข้นของกรดซิตริกที่เหมาะสมต่อการดูดซับตะกั่วของชานอ้อย 4) การทดลองหาผลของอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการดูดซับตะกั่วของชานอ้อย และ 5) เปรียบเทียบลักษณะรูพรุนของชานอ้อยที่ถูกปรับปรุงแล้วด้วยเครื่องSEM