การพัฒนาแนวทางการสร้างต้นแบบชุดหมวกกรีดยางอัตโนมัติสำหรับต้นยางพารา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภูกริช กิตตินนท์ธนา, สุกฤตยา ภู่สุวรรณ์, พิมพ์ชนก ศรสุวรรณศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อรพรรณ พยัฆกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเซนต์นิโกลาส

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง การพัฒนาแนวทางการสร้างต้นแบบชุดหมวกกรีดยางอัตโนมัติสำหรับต้นยางพารา เป็นการศึกษาการทำกระดาษเพื่อขึ้นรูปเพื่อหมวกกันน้ำฝนสำหรับต้นยางพารา พบว่าใบสับปะรดมีความเหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นกระดาษ เนื่องจากในใบสับปะรดมีเส้นใยที่ยึดเกาะกับอย่างแข็งแรง และจากการทดสอบคุณสมบัติของกระดาษที่เคลือบด้วยน้ำยางพาราพบว่า การเคลือบน้ำยางพาราจำนวน 5 ครั้งทำให้มีความหนาของกระดาษมากที่สุด คือ 1.85 มิลลิเมตร รองลงมาคือการเคลือบจำนวน 4, 3, 2 และ 1 โดยมีความหนาของกระดาษ 1.55, 0.96, 0.76 และ 0.55 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนกระดาษที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบน้ำยางพารามีความหนาน้อยที่สุด คือ 0.50 มิลลิเมตร การทดสอบความหนาแน่น ของกระดาษจากเยื่อสับปะรดที่เคลือบด้วยน้ำยางพาราพบว่า กระดาษที่เคลือบด้วยน้ำยางพารา 5 ครั้งมีค่าความหนาแน่นมากที่สุดคือ 282.26 kg/m3รองลงมาคือการเคลือบจำนวน 4, 3, 2 และ 1 โดยมีความหนาแน่นของกระดาษคือ 229.67, 186.45,153.58, 95.81 ส่วนกระดาษที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบน้ำยางพารามีความหนาแน่นน้อยที่สุด 65.74 kg/m3การทดสอบความสามารถในการดูดซึมน้ำของกระดาษจากเยื่อสับปะรดพบว่ากระดาษที่เคลือบด้วยน้ำยางพารา 3 ,4 และ 5 ครั้ง ไม่มีอัตราการดูดซึมน้ำ เนื่องจากมีการเคลือบด้วยน้ำยางพาราซึ่งเป็นฉนวนในการป้องกันน้ำทำให้กระดาษที่ไม่มีการดูดซึมน้ำ การศึกษาความสามารถในการทนต่อแรงภายนอก (ความเครียด)ที่มากระทำต่อกระดาษเยื่อสับปะรดพบว่ากระดาษจากเยื่อสับปะรดที่เคลือบด้วยน้ำยางพารา 5 ครั้ง มีค่าความเครียดเฉลี่ยอยู่ที่ 0.12 ,0.11, 0.09, 0.06 , 0.05 และ 0.04 ตามลำดับ ซึ่งการเคลือบกระดาษเยื่อสับปะรดด้วยน้ำยางพาราทำให้มีค่าในการทนต่อแรงภายนอกได้สูง ทำให้กระดาษมีความแข็งแรงเหมาะในการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่ากระดาษจากเยื่อสับปะรดที่เคลือบด้วยน้ำยางพารา 5 ครั้ง สามารถนำมาทำหมวกกันน้ำฝนสำหรับต้นยางพาราได้และใช้งานได้ดี

จากการทดสอบการเปรียบเทียบอุณหภูมิระหว่าง ระหว่าง DHT11 กับ Thermo Hygro รุ่น TM-870 FZ ทางการค้าเป็นจำนวน 10 ครั้ง พบว่ามีค่าเฉลี่ยของเซ็นเซอร์ DHT11มีค่าเท่ากับ 36.5 ± 0.53 ในส่วนของ Thermo Hygro รุ่น TM-870 ทางการค้า มีค่าเท่ากับ 35.7 ± 0.41

จากการทดสอบการเปรียบเทียบอุณหภูมิระหว่าง DHT11 กับ Thermo Hygro รุ่น TM-870 FZ ทางการค้าเป็นจำนวน 10 ครั้ง พบว่ามีค่าเฉลี่ยของเซ็นเซอร์ DHT11มีค่าเท่ากับ 61.22± 1.61ในส่วนของ Thermo Hygro รุ่น TM-870 FZ ทางการค้า มีค่าเท่ากับ 62.08 ± 1.50

จากการทดสอบประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์พบว่าการพัฒนาแนวทางการสร้างต้นแบบชุดหมวกกรีดยางอัตโนมัติสำหรับต้นยางพาราที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับเกณฑกําหนดที่ตั้งไว้และสามารถนําไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์