ประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันของออดิบเขียวและออดิบดำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
หทัยชนก ศรีสมบัติ, โชติรส สงวนศรี, จารุวรรณ ชัยเกิด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัทมา สุนทรนนท์, สุธีรา ท่าจีน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติได้มาจากพืชและสัตว์ น้ำเสียจากร้านอาหารที่มีน้ำมันและไขมันปนเปื้อนส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาหาร ได้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำมัน
และไขมันปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก โดยอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำผิวดินโดยตรง น้ำมันและไขมันซึ่งพบในน้ำเสียชุมชนที่มาจากการประกอบอาหารมีปริมาณร้อยละ 10 (กรมควบคุมมลพิษ,2560) ของสารอินทรีย์ทั้งหมด โดยน้ำมันและไขมันในน้ำเสียนี้ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำซึ่งเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ ทำให้พืชน้ำสังเคราะห์แสงได้น้อยลง น้ำมันและไขมันนี้จะขัดขวางการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างอากาศลงสู่น้ำทำให้การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ การบำบัดหรือแยกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำเสียสามารถทำได้โดยวิธีการดูดซับซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถดำเนินการได้ง่าย อุปกรณ์น้อย ไม่ต้องควบคุมระบบ นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า วัสดุจากธรรมชาติหลายชนิดสามารถนำมาใช้เป็นตัวดูดซับได้ เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา ดอกธูปฤาษี เป็นต้น เนื่องจากวัสดุเหล่านี้โครงสร้างมีรูพรุนที่เกิดจากท่อลำเลียงต่างๆ นอกจากนี้หลักการเลือกวัสดุในธรรมชาติตัวอื่นๆเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน มีดังนี้ 1.มีขนหรือหนามเล็กๆ หรือเป็นเส้นใยฝอย ทำให้มีพื้นที่ผิวมาก 2.ไม่เปียกน้ำหรือนํ้าไม่เกาะ ทำให้ดูดซับน้ำมันได้ดี 3.มีนํ้าหนักเบาทำให้ลอยนํ้าอยู่ได้เพื่อตักไปกำจัดทิ้ง ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงมีความสนใจนำออดิบเขียวและออดิบดำมาใช้เป็นเป็นตัวดูดซับ เพราะออดิบมีลักษณะโครงสร้างเป็นรูพรุนที่เกิดจากท่อลำเลียงต่างๆ น้ำหนักเบาลอยน้ำได้ สามารถทำให้เกิดการดูดซับได้มากแตกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดปัญหาน้ำเสียสามารถทดแทนวัสดุสังเคราะห์ดูดซับคราบน้ำมันและเนื่องจากออดิบสามารถขยายพันธุ์และหาได้ง่ายในท้องถิ่น สามารถนำไปใช้งานได้จริงและไม่เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม