การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายปริมาณสารประกอบไนโตรเจนในน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนหลังการดูดซับจากถ่านไม้โกงกางเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของหอยแครงสายพันธุ์ Anadara granosa (Tegillarca granosa) ในบ่อเพาะเลี้ยง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สโรชา เสวตสุวรรณ, นิติภูมิ แก้วสืบ, ภัทรธิดา กุมภาพันธ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ไพศาล แมลงทับทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่อง การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายปริมาณสารประกอบไนโตรเจนในน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนหลังจากการดูดซับจากถ่านไม้โกงกาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายปริมาณสารประกอบไนโตรเจนในน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนบนหลังการดูดซับจากถ่านไม้โกงกางโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศสำหรับเกษตรกรที่ใช้ในการบำบัดน้ำทะเลในการลดปริมาณสารประกอบไนโตรเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงหอยแครงในบ่อเพาะเลี้ยง ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ของตนเอง โดยใช้ปริมาณถ่านไม้โกงกางและเวลาอย่างเหมาะสมกับขนาดของบ่อเพาะเลี้ยงและระดับของคุณภาพของน้ำทะเลที่ต้องการบำบัดในแต่ละบ่อ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณพบว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการพยากรณ์ค่าปริมาณถ่านไม้โกงกางที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำทะเล โดยมีตัวแปรปริมาณไนเตรทเริ่มต้น ( XNO3- ) และ ตัวแปรปริมาณน้ำทะเล ( Xv ) เป็นตัวแปรอิสระ คือ Yxc =9.712+34.737Xv-0.002XNO3- โดยปริมาณไนเตรทเริ่มต้น ( XNO3- ) และ ปริมาณน้ำทะเล ( Xv ) สามารถอธิบายปริมาณถ่านไม้โกงกาง ได้ร้อยละ 97.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการพยากรณ์ปริมาณสารประกอบไนโตรเจน (การศึกษาปริมาณไนเตรทหลังการบำบัด ( YNO3- ) ในน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนหลังการดูดซับจากถ่านไม้โกงกาง โดยมีตัวแปรอิสระ คือ ปริมาณไนเตรทเริ่มต้น ( XNO3- ) ระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัด ( Xt ) และปริมาณถ่านไม้โกงกาง ( Xc ) และมีตัวแปรตามคือปริมาณไนเตรทหลังการบำบัด ( YNO3- )
คือ YNO3- =101.035+0.417XNO3- -2.034Xt-0.055Xc โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายปริมาณไนเตรทหลังการบำบัด ( YNO3- ) ได้ร้อยละ 85.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05