รูปแบบการเรียงตัวของไม้ที่มีขนาดต่างกันในการเผาถ่าน ที่ส่งผลต่อปริมาณถ่านที่ได้รับ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุพิชญา ทับทิม, ลัคนา สร้อยทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สนฤดี ศรีสวัสดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันในการเจริญเติบโตทางธุรกิจหลายๆ ด้าน เช่นด้านอาหาร ด้านความงาม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเจริญเติบโตเหล่านี้ มาพร้อมเทคโนโลยีที่ก้าวไกล จนมีบางสิ่งบางอย่างเลือนหายไป อย่างชัดเจนที่เห็นได้ชัด คือถ่านไม้ ที่ปัจจุบันแปรเปลี่ยนเป็นก๊าซหุงต้มแทบจะทั้งหมด เหลือไว้แต่เพียงความทรงจำและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นเก่า เพียงเพราะในปัจจุบันคงเป็นธุรกิจที่ไม่คุ้มกับทุนและเวลาเท่าไหร่ ถ้าหากคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจถ่านไม้ให้สามารถได้กำไรในเรื่องของเม็ดเงินและความคุ้มค่าของเวลาก็ควรที่จะศึกษาให้ถี่ถ้วน ผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจศึกษาค้นคว้า โดยผสมผสานความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยศึกษารูปแบบการวางตัวของถ่านไม้ 9 รูปแบบ, การบรรจุลงเตาเผาขนาดต่างๆ พบว่าการเรียงตัวของไม้ในรูปแบบที่ 8 เรียงจากไม้ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จากด้านล่างเตาติดช่องใส่ฟืนไปด้านบนสุดส่วนท้ายของเตา สามารถให้ผลผลิตต่อครั้งมากที่สุด โดยจากการบันทึกผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากการเผาได้จำนวนไม้ในการบรรจุต่อเตาทั้งหมด 160 ท่อน น้ำหนักเท่ากับ 123 กิโลกรัม ได้ปริมาณถ่าน 60.59 กิโลกรัม คิดเป็นเปอร์เซ็นต์มวลไม้ที่เหลือ 49.26 ซึ่งน้ำหนักถ่านที่ได้นั้นมาจากการคำนวณเปอร์เซ็นต์มวลไม้ที่หายไปในไม้แต่ละขนาดหลังจากการการเผาแล้วนำน้ำหนักถ่านที่ได้มาเทียบกับน้ำหนักไม้ก่อนเผาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มวลไม้ที่เหลือ
คำสำคัญ : ถ่านไม้กระถินยักษ์, เตาดินทรงสี่เหลี่ยม, การเผาถ่านแบบดั้งเดิม, เปอร์เซ็นต์มวลไม้ที่หายไป, เปอร์เซ็นต์มวลไม้ที่เหลือ