การยืดอายุเก็บรักษาอายุมะม่วงโดยการเคลือบด้วยสารไคโตซาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปรียาภรณ์ แก้วนก, ปัณณ์จุฑา พันธุนาถวิริยกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชูขวัญ เตชกานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันมะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่ผลไม้บางชนิดหลังเก็บ เกี่ยวเพื่อจำหน่ายสู่ท้องตลาดมักจะมีอายุสั้นหนึ่งในนั้นก็คือ ผลมะม่วง ผลมะม่วงนั้นเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่ม เน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เพิ่มปริมาณขยะเน่าเสียและการสูญเสียกำไรการส่งออกผลมะม่วงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งให้สั้นที่สุด การยืดอายุการเก็บรักษาทั้ง ปริมาณ น้ำหนักและคุณภาพของมะม่วงให้ดีที่สุดจนถึงปลายทางจึงเป็นเรื่องสำคัญ
การใช้สารเคลือบผิวจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถยืดอายุถนอมเก็บรักษามะม่วงได้ทั้งช่วยลดการสูญเสีย น้ำหนัก ลดการกระบวนการหายใจ ลดการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ช้าลง รักษาผิวของผลมะม่วงให้สดใหม่อยู่เสมอ
ไคโตซานเป็นสารชนิดนึงที่พบได้ในธรรมชาติพบในสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้อง เช่น เปลือกกุ้ง กั้ง และกระดองปูดาวทะเล เปลือกหุ้มของแพลงก์ตอน ผนังเซลล์ของเห็ดรา ยีสต์ และยังเป็นอนุพันธ์ของไคติน ไคโตซานมักถูกนำไปใช้ทั้งในรูปของสารละลายโดยละลายไคตินด้วยกรดหรือด่างจนได้สารละลายที่มีลักษณเหนียวใส สามารถนําไปขึ้นรูปได้หลายแบบ เช่น แผ่นเยื่อบาง เจล เม็ด เส้นใย คอลลอยด์และสารเคลือบผิวที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติซึ่งมีความปลอดภัยในการนําเอาไคโตซานมาประยุกต์ใช้งาน และไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นคณะผู้จัดทำต้องการศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงโดยการนำสารละลายไคโตซานที่ได้มาจากการกำจัดหมู่อะซิติลในไคตินมาใช้ในการวิจัยเพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการเคลือบสารละลายไคโตซานต่อผลมะม่วง หากประสบความสำเร็จทางโครงงาน โครงงานชนิดนี้จะเป็นแนวทางในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ต่าง ๆ เพื่อส่งออกในทางการค้าต่อไปได้และยังช่วยในเรื่องการลด ปริมาณการล้นตลาดของผลไม้ชนิดต่าง ๆ